CLMVT Forum 2019 ประสบความสำเร็จดียิ่ง ตอกย้ำศักยภาพและโอกาสของ CLMVT ในการเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่แห่งเอเชีย ท่ามกลางความท้าทายและบริบทใหม่ทางการค้า - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, July 6, 2019

CLMVT Forum 2019 ประสบความสำเร็จดียิ่ง ตอกย้ำศักยภาพและโอกาสของ CLMVT ในการเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่แห่งเอเชีย ท่ามกลางความท้าทายและบริบทใหม่ทางการค้า


กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร 11 แห่ง จัดการประชุมระดับภูมิภาค CLMVT Forum 2019 ระหว่างวันที่ 23-24 มิถุนายน 2562 ที่โรงแรมเรเนซองส์ กรุงเทพฯ ราชประสงค์ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างท่วมท้นจากผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาชาติกว่า 14 ประเทศ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานวิชาการ ตลอดจน ได้รับเกียรติจากวิทยากรและผู้นำความคิดจากทั่วภูมิภาคทั่วโลก ภายใต้แนวคิดที่มุ่งขับเคลื่อนภูมิภาค CLMVT สู่การเป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่แห่งเอเชีย


นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน และแสดงปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “CLMVT as the New Value Chain Hub of Asia” (การผลักดันภูมิภาค CLMVT ให้ เป็นศูนย์กลางห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่แห่งเอเชีย) โดยมีรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจการค้าจากประเทศ CLMVT นักคิด นักวิชาการ และผู้บริหารภาคเอกชน ร่วมเสวนาเพื่อจุดประกายตามเป้าหมายของ CLMVT Forum ที่จะเป็นเวทีสากลในการแสดงความเห็น และสร้างเครือข่ายผู้นำทางธุรกิจ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และผู้กำหนดนโยบายของประเทศ เพื่อร่วมมือกันสร้างความเจริญก้าวหน้า และการเติบโตด้านเศรษฐกิจการค้าอย่างยั่งยืนแก่ภูมิภาค CLMVT

ศาสตราจารย์ คีชอร์ มาห์บูบานี (Prof. Kishore Mahbubani) อดีตทูตสิงคโปร์ประจำสหประชาชาติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส (ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์) และศาสตราจารย์ ด้านการดำเนินนโยบายสาธารณะ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) ได้กล่าวปาฐกถาแสดงวิสัยทัศน์ เกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ กับจีนขณะนี้ว่า “ไม่ใช่แค่มิติด้านการค้า แต่ลึกยิ่งไปกว่านั้น” และให้ความเห็นว่า ความตึงเครียดทางการค้าที่เห็นอยู่ขณะนี้ เป็นเพียงมิติหนึ่งของการช่วงชิงอำนาจ ซึ่งยังมีมิติด้านการเมือง การทหาร วัฒนธรรม และจิตวิทยา เป็นปัจจัยร่วมสำคัญทับซ้อนอยู่ อย่างไรก็ดี ศาสตราจารย์ คีชอร์ ชี้ว่าแม้ความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีน จะส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคทั่วโลก รวมทั้งอาเซียน แต่อาเซียนก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในการรวมตัวกันเป็นภูมิภาคที่แข็งแกร่ง นำมาซึ่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ ด้วยโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้ากับจีนและเพื่อนบ้าน ให้ดียิ่งขึ้น ดังนั้น เวทีการเจรจาหารือ เช่น CLMVT Forum จึงมีความสำคัญมาก ในการประสานความร่วมมือที่จะช่วยนำอาเซียนให้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ และแสวงหาแนวทางการพัฒนาร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

ในการเสวนาหัวข้อ “สงครามการค้า: นัยยะต่อภูมิภาคอาเซียน” ได้รับเกียรติจาก 3 วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิได้แก่ มิส ลี เฉิน เฉิน (Ms. Lee Chen Chen) ผู้อำนวยการ (ด้านแผนงานนโยบาย) สถาบันกิจการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์ (Singapore Institute of International Affairs) ดร. สมประวิณ มันประเสริฐ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานวิจัย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และคุณมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

โดย มิส ลี เฉิน เฉิน มีความเห็นว่าความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเปลี่ยนจากการร่วมมือกัน เป็นการแข่งขันกันทางยุทธศาสตร์ โดยไม่ได้จำกัดอยู่แค่ประเด็นด้านเศรษฐกิจการค้า แต่ยังรวมไปถึงมิติด้านอื่นๆ เช่น เรื่องเทคโนโลยี เป็นต้น สำหรับผลกระทบที่มีต่ออาเซียนนั้น ในระยะสั้น จีนอาจย้ายฐานการผลิตมายังภูมิภาคนี้ มากขึ้นประมาณร้อยละ 15-30 โดยเฉพาะไทยและเวียดนาม ส่วนในระยะยาว อาเซียนอาจต้องเผชิญกับภาวะที่ต้องเลือกข้างสายการผลิต (ASEAN’s value chain dilemma) ระหว่างสหรัฐฯ กับจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่อาเซียน มีเป้าหมายที่จะเป็น AEC single production hub ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานจากทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม อาเซียนสามารถขอรับการสนับสนุนจากแหล่งอื่นได้ และต้องมุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง รวมทั้ง ภาคบริการตามชายแดน โดยเฉพาะการศึกษาและการพัฒนาทักษะให้แรงงาน เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า

ดร. สมประวิณ ให้ความเห็นว่าความตึงเครียดทางการค้า ทำให้เกิดทั้งผลลัพธ์ทั้งในแง่บวกคือโอกาสของสินค้าทดแทน และแง่ลบคือผลกระทบต่อความเชื่อมโยงของ supply chain ทั้งนี้ ภูมิภาค CLMVT สามารถช่วยเหลือกันและกันได้ในแต่ละช่วงของห่วงโซ่คุณค่า โดยไทยและเวียดนามสามารถผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ในขณะที่กัมพูชาและลาว สามารถผลิตสินค้าระดับพื้นฐานได้ในปริมาณมาก ดังนั้น สิ่งสำคัญในการเจริญเติบโตของอาเซียน คือต้องร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ด้านนายมนตรี มองว่าอาเซียนไม่จำเป็นต้องเลือกข้างใดข้างหนึ่ง สามารถรักษาสมดุลได้ผ่าน APEC framework ได้ โดยผลกระทบของสงครามการค้าเป็นการปกป้องทางการค้าในระดับภูมิภาค (Regional Protectionism) พร้อมกับเสนอว่า ประเทศในกลุ่มอาเซียนควรผนึกกำลังกันในการเข้าร่วมข้อตกลงสำคัญๆ เช่น CPTPP เพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองในเวทีการค้าโลก 


ภายในงานฯ ยังได้รับเกียรติจากนายอดิตยะ ศรีนาธ (Mr. Aditya Srinath) รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยหลักทรัพย์แห่งเอเชีย บริษัท เจ.พี.มอร์แกน ซีเคียวริตี้ สิงคโปร์ จำกัด มาวิเคราะห์ยุทธศาสตร์และกำหนดกลยุทธ์สำหรับภูมิภาค CLMVT โดยนายอดิตยะให้ความเห็นว่า CLMVT ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนเป็นจุดหมายของ การลงทุนมานานแล้ว ด้วยขนาดและการเติบโตของตลาดภายในภูมิภาค โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งมีปัจจัยสำคัญด้านประชากรในวัยทำงานที่มีจำนวนมาก และมีทักษะที่ดี สามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ สำหรับกัมพูชา พม่า และลาว ต้องระมัดระวังการไหลเข้าของเงินทุนจำนวนมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและปัญหาที่อยู่อาศัยราคาแพงได้ ทั้งนี้ยุทธศาสตร์ที่จะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ CLMVT นายอติยะ ชี้ว่ารัฐบาลของแต่ละประเทศต้องมีเสถียรภาพ มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกฎระเบียบและความโปร่งใส พัฒนาระบบโลจิสติกส์ เสริมสร้างทุนมนุษย์ และมีมาตรการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญมากในการเลือกฐานการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ

ในเวทีการเสวนาระดับรัฐมนตรีทั้ง 4 ท่านจากกลุ่มประเทศ CLMVT ในหัวข้อ “CLMVT ภูมิภาคแห่งโอกาสที่ไม่มีสิ้นสุด” ทุกท่านต่างเห็นพ้องร่วมกันว่าภูมิภาค CLMVT มีศักยภาพอย่างไร้ขีดจำกัด ด้วยข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์ที่มีที่ตั้งอยู่ใจกลางอาเซียน และใกล้กับจีนและอินเดีย รวมทั้ง มีจุดแข็งของแต่ละประเทศที่สอดรับกันอย่างลงตัว มีความเชื่อมโยงของเส้นทางคมนาคมทั้งทางบกและทางรางผ่านระเบียบเศรษฐกิจ GMS (Greater Mekong Subregion) ที่สามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายคมนาคมภายใต้ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (Belt and Road Initiative หรือ BRI) ของจีน ช่วยสนับสนุนให้การเป็นฐานการผลิตร่วมของ CLMVT บรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ โอกาสและศักยภาพข้างต้น สามารถช่วยให้ประเทศต่างๆ ใน CLMVT ประสานจุดแข็งร่วมกันอย่างลงตัวในการผลักดันให้ CLMVT กลายเป็นห่วงโซ่คุณค่าของโลกที่เข้มแข็ง โดยมีความท้าทายที่สำคัญคือ การปรับปรุงความเชื่อมโยงทางกฎระเบียบ โดยเฉพาะเรื่องมาตรการที่มิใช่ภาษี (NTMs) ซึ่งจำเป็นที่ CLMVT จะต้องหารือกันอย่างใกล้ชิดในเรื่องดังกล่าว เพื่อให้ CLMVT กลายเป็นฐานการผลิตร่วมอย่างแท้จริง บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ AEC Blueprint 2025

การอภิปรายจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากภาคเอกชน 4 ท่าน ได้แก่ นายเชทัน อรุน นาราเก (Mr. Chetan Arun Narake) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Chandragan Group อินเดีย นายดักกลาส ฟู (Mr. Douglas Foo) ประธานสภาอุตสาหกรรมสิงคโปร์ นางจรีพร จารุกรสกุล ประธานคณะกรรมการบริษัท และประธานบริหารกลุ่มบริษัท ดับเบิลยูเอชเอ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายคริสเตียน วิดมานน์ (Mr. Christian Wiedmann) ประธานบริษัท และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวถึงโอกาสในการพัฒนาภูมิภาค CLMVT ให้เป็นศูนย์กลางของห่วงโซ่คุณค่าโลก โดย SMEs สามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้ง่ายขึ้นด้วยเทคโนโลยี และรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่แปลกใหม่กว่าเดิม เปิดโอกาสให้ SMEs มีส่วนร่วมในห่วงโซ่คุณค่าโลกได้ง่ายขึ้น ภาครัฐเองก็จำเป็นต้องพัฒนาให้เท่าทันกับ การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีทักษะทางเทคโนโลยี มีความสามารถในการปรับตัว และมีกรอบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญหาที่เข้มแข็ง เพื่อสนับสนุนนวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐและเอกชนต้องทำ คือนำความแนวคิด และความร่วมมือต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง

ในการปาฐกถาเพื่อจุดประกายในประเด็น “เตรียมความพร้อมสู่ห่วงโซ่คุณค่ายุคใหม่” โดย ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสิ่งที่จะทำให้ CLMVT พร้อมสำหรับการเป็น Value chain hub of Asia ประกอบด้วย 3 ปัจจัยขับเคลื่อน ได้แก่ 1) การเติบโตของภูมิภาค CLMVT ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดเป็นสองเท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ CLMVT เป็นเป็นตลาดที่มีศักยภาพของภูมิภาคอาเซียน และยกระดับคุณภาพชีวิตและรายได้ของประชาชนภายในภูมิภาค 2) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน การใช้เครื่องจักรจะถูกนำใช้ทดแทนแรงงานที่มีทักษะต่ำ-ปานกลางในอนาคต และ 3) การเพิ่มขึ้นของประเด็นและ ความตึงเครียดทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของห่วงโซ่คุณค่าของภูมิภาค ทั้งทางด้านการค้าและการเคลื่อนย้ายการลงทุน อาทิ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ปัญหาระหว่างอินเดียและปากีสถาน และปัญหา Brexit เป็นต้น ดังนั้น แนวทางหลักในการขับเคลื่อน 3 ปัจจัยหลักดังกล่าว ประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ 1) การสร้างความเป็นปึกแผ่นของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาค 2) การเพิ่มความสำคัญของภาคบริการ 3) การมีแพลตฟอร์มพื้นฐานสำหรับห่วงโซ่คุณค่าและเศรษฐกิจแบ่งปัน และ 4) การใช้ความรู้ในการทำงานที่สูงขึ้นของแรงงาน

โดย 5 ขั้นตอนที่ต้องดำเนินการต่อไป ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในภูมิภาค 2) การลดแรงเสียดทานจากการเชื่อมโยงภายในภูมิภาค เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน และการสร้างมาตรฐานระหว่างกฎระเบียบภายในภูมิภาค เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ห่วงโซ่คุณค่าของภูมิภาค 3) การปฎิรูปกฎระเบียบ โดยเฉพาะด้านดิจิทัล เพื่อสามารถตอบสนองต่อความยากง่ายในการประกอบธุรกิจภายในภูมิภาค 4) การเปิดเสรีภาคบริการ และสร้างเสริมศักยภาพภาคบริการ เพื่อเชื่อมโยงกับห่วงโซ่คุณค่าโลก และ 5) การพัฒนาและเสริมสร้างทักษะใหม่ๆ ให้แก่กำลังแรงงานในภูมิภาค

การเสวนาเป็นคู่ในหัวข้อ “การยกระดับการเชื่อมโยงของภูมิภาค CLMVT สู่ความสำเร็จ” ระหว่างนายเรย์มอนด์ ยี (Mr. Raymond Yee) รองประธานบริษัทด้านศุลกากรและกฎระเบียบ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ยกเว้นจีนและสิงคโปร์) บริษัท ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส จำกัด กับนางสาว ซู แอน ลิม (Ms. Su Ann Lim) หัวหน้าฝ่ายอุตสาหกรรม (มาเลเซีย เมียนมา และกัมพูชา) บริษัท กูเกิ้ล จำกัด โดยทั้งสองท่านกล่าวถึงโอกาสในการยกระดับการเชื่อมโยงในภูมิภาค CLMVT โดยใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เนต และแพลตฟอร์ม online เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาความเป็นอยู่ของประชากรในภูมิภาคให้ดีขึ้น ซึ่งทั้ง Google และ DHL ต่างดำเนินธุรกิจที่มุ่งตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเป็นสำคัญ โดยใช้โอกาสในอนาคตที่ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะมีจำนวน ผู้เข้าถึงอินเทอร์เนตเพิ่มขึ้นอีกราว 1 พันล้านคน ภายในปี 2020 รวมทั้ง การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่ง Google และ DHL มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา เน้นนำเสนอการให้บริการรูปแบบใหม่ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานได้สะดวกและง่ายขึ้นตาม แต่ละพื้นที่ของการให้บริการ รวมทั้ง สนับสนุนการพัฒนาทักษะทาง

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages