ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (OBSTRUCTIVE SLEEP APNEA:OSA) มีการกล่าวถึงกันมากและปัจจุบันมีเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่ในการรักษาผู้ป่วย เรียกว่า เครื่องอัดอากาศแรงดันบวก หรือ CPAP แต่ยังมีผู้ป่วยบางรายใช้เครื่อง CPAP แล้วยังมีอาการง่วงอยู่ โดยที่ผู้ป่วยบางรายไม่รู้สึกถึงความแตกต่างระหว่างก่อนหรือหลังการใช้งาน ขณะที่ผู้ป่วยบางรายรู้สึกหายง่วงขึ้นบ้างแต่ยังมีอาการง่วงอยู่ นั่นเป็นเพราะสาเหตุอะไรและจะแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างไร มาฟังข้อแนะนำดีๆ จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดประจำอยู่ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายแพทย์ธนี ธนียวัน (หมอแทน) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคปอดและเป็นอาจารย์แพทย์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ใส่เครื่องอัดแรงดันบวก หรือ CPAP เมื่อใส่อุปกรณ์ไปแล้วแต่อาการง่วงยังคงอยู่และไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง มีสาเหตุจากหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อแรกก่อนที่เราคิดว่าจะหายง่วง ทั้งที่เราได้รับการรักษาภาวะการหายใจขณะหลับแล้ว เรายังจะต้องไปดูว่าในแต่ละวันเรานอนหลับเพียงพอหรือเปล่า ถ้าเรายังนอนไม่เพียงพอยังนอนเพียงแค่ 3-4 ชั่วโมง/วัน เราต้องแก้ไขตรงนี้ก่อน เพราะการสวมใส่เครื่อง CPAP ไม่ได้ช่วยลดเวลาการนอน เราจะต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอเสียก่อน ถ้าเราอดนอนหลายๆ คืนแล้วมาใช้เครื่อง CPAP ก็ยังมีความง่วงหลงเหลืออยู่ได้
ลำดับต่อไปเราต้องดูก่อนว่าการรักษาภาวะการหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นดีแค่ไหน โดยตัวเครื่องCPAP จะสามารถบ่งบอกได้ว่าในคืนที่ผ่าน ๆ มาเราหยุดหายใจวันละกี่ชั่วโมงซึ่งจะเป็นดัชนีค่า AHI ออกมาให้เห็น คือตัวเครื่องจะบ่งบอกว่าถ้าภาวะต่ำกว่า 5 แสดงว่าปกติ แต่ผู้ป่วยบางคนค่าสูงกว่า 5 หรือได้ค่าเฉลี่ย 10-15 ก็ยังแปลว่าการรักษาด้วยเครื่อง CPAP ยังต้องปรับปรุงแก้ไข ถึงจะได้ผลการรักษาสูงที่สุด
รวมทั้งยังมีสาเหตุอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ถ้านอนหลับค่า AHI ยังแบ่งได้อีก 2 อย่างคือ 1.เกิดจากการหยุดหายใจก็จริง แต่ค่าการหยุดหายใจเพราะเป็นการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนบน หรือเป็นเพราะว่าสมองหรือระบบการสั่งการไม่ทำงาน ซึ่ง ถ้าผู้ป่วยมี 2 ภาวะปนกันอย่างนี้ เครื่อง CPAP จะสามารถช่วยแก้ไขได้เฉพาะกรณีการนอนหลับที่มีการอุดกั้นการหายใจส่วนบนเท่านั้นที่ทำให้เกิดการหยุดหายใจ แต่จะไม่สามารถแก้ไขภาวะที่สมองไม่สั่งการในเวลากลางคืนได้ ตรงนี้โดยทั่วไปแล้วถ้าผู้ป่วยมีภาวะนี้เรียกว่า Central Sleep Apnea ซึ่งอาจจะมีอาการอื่นร่วมด้วยหรือภาวะการหยุดหายใจส่วนบนอุดกั้น ซึ่งเจอร่วมกันได้ และเราพบว่าในผู้ป่วยบางท่านถ้าเป็น Obstructive Sleep Apnea หรือ เป็น OSA ที่รุนแรง หากยิ่งรุนแรงมากเท่าไร ค่า AHI จะสูงมาก ดังนั้นเวลาใช้เครื่อง CPAP แรก ๆ ผู้ป่วยจะมีอาการ Central Sleep Apnea แทรกเข้ามามาก แต่ปัจจุบันก็มีข่าวดีคือ อาการ Central Sleep Apnea จะหายไปเองได้
สำหรับสาเหตุของการเกิดอาการ Central Sleep Apnea มีหลายทฤษฏีด้วยกันแต่อาจกล่าวได้ว่า ก่อนคืนที่เราจะใช้เครื่อง CPAP เราอดหลับอดนอน เราต้องฝืนเพื่อดึงลมหายใจเข้าไปให้ได้ เพื่อให้ร่างกายมีชีวิตชีวา แต่เมื่อเราใช้เครื่อง CPAP ร่างกายไม่ต้องทำงานมากในการดึงลมหายใจเข้าไปในร่างกาย สมองจึงได้รับการพักผ่อน เราไม่ต้องหายใจก็ได้ ขณะที่ร่างกายเหมือนได้หยุดพัก อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ประมาณ1-2 เดือน ภาวะนี้ก็จะหายไปได้ด้วยตัวเอง แต่หากมีภาวะนี้รุนแรงและยังมีอาการง่วงอยู่ทางแพทย์อาจจะเปลี่ยนจากเครื่อง CPAPเป็นอีกเครื่องหนึ่ง หรือเครื่อง BiPAP อุปกรณ์กลุ่ม ASV ตรงนี้จะช่วยผู้ป่วยที่มีภาวะ Central Sleep Apnea สมองไม่สั่งการในเวลาที่เราหลับได้ แต่การใช้ BiPAP เครื่องนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ เพราะมีข้อห้ามใช้บางประการ เช่น โรคหัวใจรุนแรงอาจจะไม่เหมาะ ซึ่งต้องอยู่ในดุจพินิจของแพทย์ เป็นต้น
สุดท้าย หากแพทย์ตรวจทุกอย่างไม่พบอะไร คนไข้มีอาการง่วงมากนอกเหนือสาเหตุดังที่กล่าวมา อาจจะต้องใช้ยากระตุ้นอื่น ๆ ร่วมด้วย มีการสั่งยาที่ทำให้เรามีการตื่นตัวมากขึ้น หรือทานคาเฟอีนในระดับที่เหมาะสม เป็นต้น
สำหรับการจัดทำคลิปวีดีโอนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท อีโอไลฟ์เมด จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ CPAP/BPAP จากประเทศออสเตรเลีย ที่เน้นให้ความรู้ด้านเครื่องมือแพทย์สมัยใหม่เกี่ยวกับการนอนหลับ
ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูคลิปวีดีโอได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=WXtPBaj8vjA
No comments:
Post a Comment