บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ปรับปรุงการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ของโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง หลังจำนวนเกษตรกรเพิ่มขึ้น พบว่าให้ผลลัพธ์ดีขึ้นในทุกมิติ เกษตรกรมีคุณภาพชีวิต รายได้และสังคมที่ดีขึ้น ตลอดจนช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ตอกย้ำการดำเนินงานด้านคอนแทร็คฟาร์มมิ่งของบริษัทช่วยสนับสนุนความยั่งยืนได้อย่างมีนัยสำคัญ
นายวุฒิชัย สิทธิปรีดานันท์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า เมื่อปีก่อนบริษัทได้ทำการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมของโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งเพื่อให้เห็นผลลัพธ์อย่างชัดเจนตามหลักการสากล โดยใช้วิธี Impact Valuation ที่จะตีมูลค่าผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบของโครงการออกมาเป็นมูลค่าเงิน ต่อมาในปี 2562 เกษตรกรในโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งของบริษัทมีจำนวนเพิ่มขึ้น 230 ราย จึงปรับปรุงวิธีการคำนวณให้ดีขึ้นจากครั้งก่อน โดยได้ผลประเมินมูลค่าที่แท้จริง (True Value) ถึงกว่า 390 ล้านบาท
ทั้งนี้ การประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจของโครงการคอนแทร็คฟาร์มมิ่งนั้น พบว่าเกษตรกรมีรายได้ในปีที่ผ่านมาถึงกว่า 108 ล้านบาท สามารถลดสัดส่วนเกษตรกรที่มีค่าครองชีพต่ำกว่าเส้นความยากจนลงจาก 40% เหลือ 0% ส่วนในด้านสังคมพบว่า เกษตรกร85% มีความสามารถส่งบุตรหลานให้ได้รับการศึกษาที่สูงขึ้นกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนมีเวลาว่างอยู่กับลูกและครอบครัวมากขึ้น 2.4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปถึงการลดปัญหาสังคมอันเนื่องมาจากปัญหายาเสพติดในเยาวชน
นอกจากนี้ การที่ฟาร์มสุกรของเกษตรกรซีพีเอฟทุกแห่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และผ่านการทำประชาคมจากชุมชน โดยที่ตั้งฟาร์มต้องอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำธรรมชาติเพียงพอเพื่อไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชนโดยรอบ ตลอดจนมีการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพ(Biogas) เพื่อบำบัดมูลสุกรและน้ำใช้ภายในฟาร์ม จึงช่วยลดปัญหากลิ่นและลดก๊าซมีเทนที่ออกสู่ชั้นบรรยากาศ รวมถึงมีการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไปมอบให้ชาวสวนชาวไร่ใช้รดพืชผล เป็นปุ๋ยชั้นดีให้กับพืชไร่ต่างๆ ทำให้ฟาร์มอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างมีความสุข สิ่งเหล่านี้ทำให้ผลการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมพบว่า แม้การใช้ไฟฟ้าและเชื้อเพลิงในการเลี้ยงสุกรจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในด้านก๊าซเรือนกระจกบ้าง แต่ฟาร์มเกือบทั้งหมดของเกษตรกรซีพีเอฟมีการทำระบบไบโอแก๊ส ซึ่งเมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว พบว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึงกว่า 168,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
กล่าวโดยสรุป เมื่อนำผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม มาคำนวณเป็นมูลค่าเงินตามหลักการสากลพบว่า Contract Farming’s True Value มีมูลค่าเป็นบวกและมีค่าสูงถึง 392,206,715 บาท/ปี
“การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อยด้วยระบบคอนแทร็คฟาร์มมิ่งนี้ สามารถสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอและยั่งยืนแก่เกษตรกรในโครงการ ลดอุปสรรคด้านการเข้าถึงแหล่งทุนของเกษตรกรซึ่งเป็นด่านแรกในการประกอบอาชีพ นอกจากนี้ บริษัทยังมีแผนดำเนินโครงการ “ปลดหนี้ สร้างสุข และส่งเสริมการออม” เพื่อให้ความรู้ในการทำบัญชีครัวเรือนและการบริหารเงินอย่างมีประสิทธิภาพในกลุ่มเกษตรกรด้วย หลังประสบความสำเร็จมาแล้วในกลุ่มพนักงาน ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตและสังคมได้อีกทางหนึ่ง” นายวุฒิชัยกล่าวทิ้งท้าย
อนึ่ง การประเมินดังกล่าว ใช้หลักการประเมินตามแนวทาง Natural Capital Protocol และ Social Capital Protocol ของสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council for Sustainable Development- WBCSD) ทำการประเมินเกษตรกรคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง กลุ่มผู้เลี้ยงสุกรขุนประเภทประกันรายได้ของซีพีเอฟในประเทศไทย ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้./
Post Top Ad
Tuesday, July 7, 2020
CPF ยิ้ม...ผลประเมินคอนแทร็คฟาร์มมิ่ง หนุน ศก.-สังคม-สวล.ยั่งยืน
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
Author Details
Templatesyard is a blogger resources site is a provider of high quality blogger template with premium looking layout and robust design. The main mission of templatesyard is to provide the best quality blogger templates which are professionally designed and perfectlly seo optimized to deliver best result for your blog.
No comments:
Post a Comment