กลุ่มบริษัท “สตาร์มาร์ค”พร้อมบริษัทในเครือ นำความเชี่ยวชาญลุยช่วยเหลือสถานการณ์โควิด-19 จัดทำระบบห้องปลอดเชื้อ (Negative Pressure Room) มอบให้ ศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สร้างพื้นที่กั้นการทำงานที่ปลอดภัยให้ทีมแพทย์และพยาบาล ใช้ดูแลผู้ติดเชื้อ และยังจับมือ
ดร.พัฒน์ปกรณ์ ศรีสกุลภิญโญ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท สตาร์มาร์ค แมนูแฟคเชอร์ริ่ง จำกัด เปิดเผยว่า ในสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 เราจะได้เห็นการช่วยเหลือในแง่มุมต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แน่นอนว่าสำหรับ สตาร์มาร์ค ก็ได้มีการยื่นมือเข้าช่วยเหลือสังคม ตามแคมเปญ #ส่งใจให้ทีมแพทย์ ผ่านแง่มุมของตัวเองเช่นกัน ซึ่งในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบชุดครัวและเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เราได้อาศัยความรู้และประสบการณ์ที่มี มาถ่ายทอดเป็นงานด้านโครงสร้างที่ถนัด ด้วยการร่วมจัดทำ “ระบบห้องปลอดเชื้อ (Negative Pressure Room) สร้างพื้นที่การทำงานอย่างปลอดภัยในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ให้ทีมแพทย์และพยาบาล ศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พร้อมส่งมอบ “อุปกรณ์ป้องกันเชื้อโควิด 19” สำหรับการคัดกรองผู้ป่วยให้กับโรงพยาบาลกว่า 30 แห่งทั่วประเทศ
โดยระบบห้องปลอดเชื้อเป็นโครงสร้างม่านแม่เหล็ก ทำขึ้นโดยใช้เหล็กเป็นโครงหลัก ร่วมกันกับวัสดุทดแทนอย่าง plastwood sheet ความหนา 10 มิลลิเมตร และ transparent plastic sheet จึงมีความยืดหยุ่นสูงสามารถทนต่อสภาพความร้อน ความชื้น และเชื้อรา ได้ดี ที่สำคัญคือช่วยป้องกันการแพร่กระจายของละอองฝอยต่างๆ ได้ 100% จึงช่วยจัดการความเสี่ยงของโควิด-19 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังเสริมการทำงานของศูนย์กู้ชีพ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในสถานการณ์ฉุกเฉินได้เป็นอย่างดี ทำให้ศูนย์กู้ชีพมีห้องปลอดเชื้อ ไว้ดูแลผู้ป่วยอาการสาหัส (PUI) ก่อนส่งต่อให้ Trauma Team ในขั้นต่อไป
“สถานที่สำหรับรักษาโรคระบาด นอกจากจะต้องมีความพร้อมให้แพทย์ทำงานได้สะดวกแล้ว จุดที่แบ่งแยกระว่างพื้นที่รักษาและพื้นที่ภายนอก ก็ควรมีความมั่นคง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อต่อเนื่อง ดังนั้นฉากกั้นบานหนึ่งที่เราได้สร้างขึ้นมา จะช่วยเสริมความปลอดภัยในแง่มุมนี้ได้อย่างดี ส่วนของอุปกรณ์ป้องกันฉากกั้น ถือเป็นการแก้ปัญหาวิกฤตที่พร้อมใช้งานได้ทันที รวมถึงสร้างความปลอดภัยทั้งกับแพทย์และผู้มาตรวจอย่างตรงจุด โดยหลังจากสถานการณ์โควิด-19 สิ้นสุดลง เรามั่นใจว่าโครงสร้างทั้งสองจะยังได้ใช้งานในทางการแพทย์ต่อไป สามารถช่วยเหลือผู้คนด้วยความยั่งยืน (Sustainability) ได้ในระยะยาว”ดร.พัฒน์ปกรณ์ กล่าวปิดท้าย
No comments:
Post a Comment