“เออาร์วี - เบดร็อค” ปิดจุดอ่อนผังเมือง - การเชื่อมข้อมูลเมืองด้วยโซลูชัน “ซีดีดีพี” พลิกโฉมภาคบริหารท้องถิ่นใช้เทคฯ สร้างสมาร์ทซิตี้ทั่วไทย 1,000 แห่ง เผยนำร่องใช้จริงแล้วในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ 70 เมือง - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, December 30, 2023

“เออาร์วี - เบดร็อค” ปิดจุดอ่อนผังเมือง - การเชื่อมข้อมูลเมืองด้วยโซลูชัน “ซีดีดีพี” พลิกโฉมภาคบริหารท้องถิ่นใช้เทคฯ สร้างสมาร์ทซิตี้ทั่วไทย 1,000 แห่ง เผยนำร่องใช้จริงแล้วในพื้นที่ภาคอีสานและภาคใต้ 70 เมือง

“เออาร์วี - เบดร็อค” ปิดจุดอ่อนผังเมือง -
 การเชื่อมข้อมูลเมืองด้วยโซลูชัน “ซีดีดีพี”
พลิกโฉมภาคบริหารท้องถิ่นใช้เทคฯ 
สร้างสมาร์ทซิตี้ทั่วไทย 1,000 แห่ง
เผยนำร่องใช้จริงแล้วในพื้นที่
ภาคอีสานและภาคใต้ 70 เมือง


กรุงเทพฯ 25 ธันวาคม 2566 – เบดร็อค (BEDROCK) ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและการให้บริการแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง หนึ่งในธุรกิจย่อยของ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) พัฒนา “แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง” (City Digital Data Platform: CDDP) รุกช่วยองค์กรท้องถิ่น แก้ปัญหาใหญ่ 3 ด้าน ‘การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล-การขาดการเชื่อมต่อข้อมูล-เทคโนโลยีไม่ตอบโจทย์ปัญหาจริงและไม่ทันสมัย’ โดยนำร่องใช้เทคโนโลยี CDDP พัฒนาการวางผังเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ของไทยสู่เมืองอัจฉริยะ พร้อมชูผลสำเร็จ ยกระดับ ‘เมืองเทศบาลยะลา’ คว้ารางวัลท้องถิ่นดิจิทัล ประจำปี 2566 โดยปีหน้าตั้งเป้าเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นกว่า 1,000 แห่ง ทั่วประเทศ


นายวีรวัฒน์ รัตนวราหะ ผู้ร่วมจัดตั้ง บริษัท เบดร็อค อนาไลติกส์ จำกัด หรือ เบดร็อค (BEDROCK) ภายใต้การกำกับดูแลของ บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด หรือ เออาร์วี (ARV) ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลและการให้บริการแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับตำแหน่งที่ตั้ง
กล่าวว่า ในช่วงต้นปี 2566 เบดร็อค (BEDROCK) มีการลงพื้นที่สำรวจการวางผังเมือง และเข้าไปทำความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่นหลายแห่งของจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ เช่น ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยะลา สงขลา นครศรีธรรมราช ทำให้พบปัญหาที่เห็นได้ชัดคือ ปัจจุบันองค์กรท้องถิ่นของไทย กำลังประสบปัญหาหลักๆ

3 ด้าน คือ 1. ด้านการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูล ทำให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในพื้นที่ของตนเองไม่เต็มที่ 2. ด้านการขาดการเชื่อมต่อข้อมูล ส่งผลให้ไม่เกิดการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการ 3. ด้านเทคโนโลยีที่ไม่ตอบโจทย์ปัญหาจริงและไม่ทันสมัย แม้มีหลายท้องถิ่นในประเทศไทยลงทุนนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มาก แต่เทคโนโลยีเหล่านั้นยังไม่ตอบโจทย์และไม่สามารถสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างเต็มกำลัง เสมือนมีเทคโนโลยีที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อีกทั้งยังมีท้องถิ่นอีกหลายพื้นที่ ที่ยังจัดเก็บข้อมูลที่จำเป็นต่อการบริหารจัดการเมืองลงบนแผ่นกระดาษ

“จากปัญหาเหล่านี้จะเห็นได้ชัดว่าการใช้งานข้อมูลเหล่านี้ทำได้ยาก ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จึงไม่สามารถใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจสำหรับการตอบสนองการบริการประชาชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ เบดร็อค (BEDROCK) มีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานของท้องถิ่น โดยเร่งเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นทั่วประเทศเพื่อปูโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลดิจิทัลและเทคโนโลยี รวมถึงนำระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาช่วยต่อยอดพัฒนา เพิ่มศักยภาพและความเข้มแข็งให้ท้องถิ่นซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศผ่านการพัฒนา “แพลตฟอร์มดิจิทัลข้อมูลเมือง” หรือ City Digital Data Platform หรือเรียกสั้นๆ ว่า CDDP (ซีดีดีพี) ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการด้าน Big Data ของท้องถิ่น เพื่อการบริหารจัดการเมืองและช่วยเหลือดูแลประชาชนบนฐานของการมีข้อมูลเป็นเครื่องมือสำคัญในการกำหนดกลยุทธ์ วางแผน และตัดสินใจ”

นายวีรวัฒน์ กล่าวต่อว่า จุดเด่นของแพลตฟอร์ม CDDP คือ การใช้ข้อมูลเชิงที่ตั้งและระดับครัวเรือน จึงทำให้ท้องถิ่นสามารถจัดบริการแก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุม รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ตรงความต้องการ อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยปัจจุบัน เบดร็อค (BEDROCK) ได้ร่วมพัฒนาและให้บริการแพลตฟอร์มนี้กับท้องถิ่นกว่า 70 แห่ง ทั่วประเทศ ครอบคลุมข้อมูลด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ ข้อมูลผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบางทางสังคม และยังมีเรื่องของการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรองรับสถานการณ์ความเสี่ยงต่างๆ เช่น การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย การเข้าถึงของรถดับเพลิงในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง รวมถึงเรื่องโรคระบาด เป็นต้น


นอกจากนี้ แพลตฟอร์ม CDDP ยังสามารถรองรับการเชื่อมโยงกับอุปกรณ์ IoT sensor ที่เกี่ยวกับเมืองและคุณภาพชีวิตประชาชน ไม่ว่าจะเป็น ด้านการเชื่อมต่อกับกล้อง CCTV เพื่อดูความปลอดภัย และความเรียบร้อยของเมือง การเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ชุดตรวจสุขภาพเคลื่อนที่ สำหรับกลุ่ม อสม.ที่ใช้ในการเข้าเยี่ยมประชาชน ซึ่ง เบดร็อค (BEDROCK) จะพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลนี้ให้ดียิ่งขึ้น ควบคู่กับการพัฒนาระบบการแจ้งเตือนเหตุการณ์สำคัญต่างๆ สำหรับประชาชนและเจ้าหน้าที่ เช่น การแจ้งเตือนภัยพิบัติ การแจ้งเกี่ยวกับใบอนุญาตหมดอายุที่จะให้เจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการได้

“หนึ่งในตัวอย่างผลสำเร็จที่เบดร็อคภูมิใจเป็นอย่างยิ่งคือ “เทศบาลนครยะลา” ที่ได้รับรางวัลท้องถิ่นดิจิทัล ประเภทยอดเยี่ยม จากผลงานนวัตกรรมท้องถิ่นดิจิทัลเรื่อง Big Data เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ หลังจากที่ทางเบดร็อคได้เข้าร่วมพัฒนากับเทศบาลนครยะลาอย่างใกล้ชิด เริ่มตั้งแต่งานสำรวจข้อมูลเมือง โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ในการเก็บภาพถ่ายทางอากาศ และการใช้รถ Mobile Mapping System (MMS) เพื่อเก็บข้อมูลภาคพื้นดิน รวมถึงการจัดการข้อมูลภายในที่สำคัญให้เป็นมาตรฐาน หรือ Data standardization จากนั้นจึงพัฒนาแพลตฟอร์ม CDDP เพื่อรองรับข้อมูลโครงสร้างพื้นฐานที่รวบรวม จัดเก็บ และแสดงผลข้อมูลสาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ ของเมือง ให้สอดรับกับการเจริญเติบโตของชุมชน สังคม และประชากรที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งยังมีระบบบริหารจัดการภัยพิบัติ สำหรับการบริหารจัดการตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุ ระหว่างเกิดเหตุ และหลังเกิดเหตุภัยพิบัติ ไม่เพียงเท่านั้นยังมีระบบขออนุญาตและควบคุมอาคารอัจฉริยะ ที่เกี่ยวกับการยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างแบบ ติดตาม และรอผลอนุมัติในรูปแบบออนไลน์ และระบบภาษีอัจฉริยะอีกด้วย”

นอกเหนือจากแพลตฟอร์ม CDDP แล้ว เบดร็อค ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีด้าน AI อีกหลายกลุ่ม เข้าไปช่วยพัฒนาเมืองและแก้ปัญหาต่างๆ อาทิ 1. นำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาต่อยอดเป็น Signboard analysis เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจัดเก็บภาษีป้ายให้ได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. นำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาต่อยอดเป็น Land Tax Change Detection เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการจัดเก็บภาษี ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้ได้ครบถ้วนและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3. นำเทคโนโลยี AI OCR มาพัฒนาต่อยอดแก้ปัญหาเรื่องการตรวจสอบเอกสารและแยกประเภทเอกสารในกระบวนการขออนุญาตก่อสร้าง 4. นำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาต่อยอดใน Use case AI asset Detection ข้อมูลจากการสำรวจ ช่วยให้ทราบจำนวนและประเภทของทรัพย์สินที่แต่ละท้องถิ่นดูแลเพื่อนำไปบริหารจัดการต่อได้โดยง่าย และ 5. นำเทคโนโลยี AI มาพัฒนาต่อยอดใน Use case Road Crack Detection ข้อมูลจากการสำรวจช่วยให้ทราบเรื่องการชำรุดของถนน เพื่อนำไปบริหารจัดการและวางแผนดูแลบำรุงรักษาต่อไป

“ภายในปีหน้า เบดร็อค ตั้งเป้าจะเดินหน้าสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่นทั่วประเทศไทยให้ครอบคลุมทุกภูมิภาคกว่า 1,000 แห่ง พร้อมทั้งผนึกกำลังพันธมิตรในระดับท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค หรือกลุ่มผู้พัฒนาเมือง เพื่อพัฒนาท้องถิ่นแต่ละพื้นที่ให้ดียิ่งขึ้น และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากรท้องถิ่น เบดร็อคเชื่อว่าการสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมทักษะด้านดิจิทัลให้แก่บุคลากร เจ้าหน้าที่ของท้องถิ่น ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะมีทักษะด้านเทคโนโลยีมากน้อยเพียงไร จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้การขับเคลื่อนพัฒนาเมืองสอดรับการกับการเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีได้ดีที่สุด อีกทั้งเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี ข้อมูล และ AI จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่ทำให้ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถตัดสินใจหรือดำเนินงานต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในท้องถิ่นทุกภาคส่วน และสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่อย่างยั่งยืน ยิ่งไปกว่านั้นข้อมูลเมืองยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน ชุนชน และท้องถิ่น ได้เป็นอย่างดี อย่างที่เบดร็อคมักนิยามคำว่าเมืองอัจฉริยะไว้ว่า เมืองน่าอยู่ที่ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ” นายวีรวัฒน์ กล่าวสรุป

สอบถามรายละเอียดหรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ https://arv.co.th/ เพจเฟซบุ๊ก AI and Robotics Ventures (https://www.facebook.com/arv.th) หรือโทร. 02 078 4000

                                                    ###

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages