นายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล (ซ้าย) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด และดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี (ขวา) ประธาน มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) ร่วมกับพันธมิตรรายอื่นๆ คือ บริษัท แองโกล เอเชีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ชบาบางกอก จำกัด ประกาศความพร้อมด้านนวัตกรรมและกระบวนการจัดการขยะกระป๋องอะลูมิเนียมที่ได้มาตรฐานระดับสากลและครบวงจร ส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากกระป๋องอะลูมิเนียม เพื่อลดปริมาณขยะและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
กรุงเทพฯ, 7 ธันวาคม 2563 – บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด ผนึกพันธมิตร บริษัท แองโกล เอเชีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ชบาบางกอก จำกัด และมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) ประกาศความพร้อม ชูนวัตกรรมและกระบวนการจัดการขยะกระป๋องอะลูมิเนียมที่ได้มาตรฐานระดับสากลและครบวงจร โดยการนำบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้ว มาผ่านกระบวนการรีไซเคิล จากนั้นนำไปขึ้นรูปเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อลดปริมาณขยะอย่างยั่งยืน โดยหากได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลก็จะช่วยสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ผ่านการขับเคลื่อนประเทศแบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) จากกระป๋องอะลูมิเนียมต่อไป
นายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด กล่าวว่า “บริษัท ไทยเบเวอร์เรจ แคน จำกัด หรือ ทีบีซี ในฐานะผู้นำในตลาดบรรจุภัณฑ์กระป๋องและฝาอะลูมิเนียมชั้นนำของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบและผู้นำด้านความยั่งยืนในธุรกิจบรรจุภัณฑ์ โดยร่วมมือกับทั้งสี่องค์กรที่มีความตั้งใจเดียวกันในการลดปริมาณขยะ นำเทคโนโลยีรีไซเคิลที่ทันสมัยเข้ามาช่วยเปลี่ยนขยะอะลูมิเนียมให้กลับมาเป็นบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ปลอดภัยและถูกสุขลักษณะ สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้ 100% เกิดการหมุนเวียนของทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง เพื่อลดโอกาสที่ขยะจะถูกนำไปฝังกลบ หรือหลุดไปเป็นขยะทะเล”
ปัจจุบันประเทศไทยมีการผลิตกระป๋องอะลูมิเนียมประมาณ 6,500 ล้านกระป๋องต่อปี แบ่งเป็น 50% สำหรับส่งออกไปต่างประเทศ ส่วนอีก 50% จะวนอยู่ในประเทศไทย ซึ่งไทยเป็นประเทศหนึ่งเดียวในอาเซียนที่มีความพร้อมในการจัดการขยะอะลูมิเนียมได้ครบวงจร ผ่านความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เริ่มต้นการรีไซเคิลโดย บริษัท แองโกล เอเชีย กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ที่พร้อมให้บริการรีไซเคิลเศษกระป๋องอะลูมิเนียมในขั้นตอนตั้งแต่นำกระป๋องอะลูมิเนียมที่ถูกคัดแยกออกจากวัสดุอื่นๆ ผ่านเครื่องคัดแยก และทำความสะอาดแล้ว มาเข้าเครื่องตัด บดให้เป็นชิ้นเล็กๆ และป้อนเข้าสู่กระบวนการขจัดสีเคลือบแล็กเกอร์ ผ่านกระบวนการผลิตได้มาตรฐานจากวัตถุดิบรีไซเคิลสูงถึง 99% จากนั้นส่งต่อไปยัง บริษัท ยูเอซีเจ (ประเทศไทย) จำกัด โรงงานผลิตแผ่นอะลูมิเนียมชั้นนำแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้ดำเนินการต่อตั้งแต่กระบวนการหล่อวัตถุดิบในอุณหภูมิสูงถึง 730 องศาเซลเซียสเพื่อความสะอาดปลอดภัยจากสิ่งปนเปื้อน ไปจนถึงกระบวนการรีดเป็นแผ่นอะลูมิเนียมโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ภายใต้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานที่ได้บ่มเพาะมาเป็นเวลานาน ขณะที่ทางทีบีซีเองจะทำการขึ้นรูปทรงใหม่ตามประเภทของการใช้งาน ทั้งที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า และบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมต่อไป พร้อมสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้กรอบความยั่งยืน ผ่านการวิจัย และสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างตรงจุด พร้อมรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่เกิดขึ้นตลอดเวลา
โดยขณะนี้ บริษัท ชบาบางกอก จำกัด ผู้นำและผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่องดื่มจากผลไม้ เป็นหนึ่งในบริษัทที่มีการใช้บรรจุภัณฑ์กระป๋องอะลูมิเนียมที่ผ่านการรีไซเคิลมาแล้วในกระบวนการผลิตสินค้า 100% แสดงถึงการให้ความสําคัญกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักถึงปัญหามลภาวะต่างๆที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิต รวมถึงภาวะโลกร้อน ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตมนุษย์และระบบนิเวศน์ได้
ทั้งนี้ การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมส่งเสริมให้เกิดประโยชน์ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่
• ด้านเศรษฐกิจ: เสริมสร้างการจ้างงานในอุตสาหกรรมรีไซเคิล ส่งเสริมอาชีพรับซื้อขยะรีไซเคิลทั้งร้านรับซื้อของเก่า และซาเล้ง ซึ่งมีอยู่ประมาณ 150,000 รายทั่วประเทศ ทั้งยังลดต้นทุนในการผลิต และการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศได้อีกทาง
• ด้านสังคม: สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคในการช่วยกันเพิ่มการจัดเก็บบรรจุภัณฑ์ที่ใช้แล้วให้ถูกต้อง กระตุ้นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาบูรณาการใช้นโยบายและระบบบริหารจัดการขยะอย่างจริงจัง
• ด้านสิ่งแวดล้อม: ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ โดยเฉพาะผลกระทบจากการทำเหมืองอะลูมิเนียม อีกทั้งลดปริมาณขยะฝังกลบ และขยะที่หลุดไปในทะเล นอกจากนี้ยังเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ด้าน ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ประธานกรรมการบริหาร มูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R) กล่าวว่า “ความร่วมมือในครั้งนี้มุ่งเน้นการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมแบบครบวงจร เพื่อพัฒนาเป็นต้นแบบการนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดปริมาณขยะรวมในระบบ ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจหลักของมูลนิธิ 3R ในฐานะองค์กรในการผลักดันให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด 3R ประกอบไปด้วย การลดการใช้ (Reduce) เพิ่มการใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) พร้อมส่งเสริมแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และการพัฒนานวัตกรรมตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy เพิ่มการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ ควบคู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับธุรกิจในประเทศไทย ถือเป็นอีกก้าวสำคัญของประเทศไทยในการขับเคลื่อนการจัดการขยะ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนต่อไป”
ความร่วมมือในครั้งนี้ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืนของภาคเอกชนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พร้อมผลักดันให้ “การรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียม” เป็นหนึ่งในต้นแบบการจัดการขยะ ซึ่งหากรัฐบาลให้การสนับสนุนการรีไซเคิลกระป๋องอะลูมิเนียมก็จะช่วยผลักดันให้เกิดการรีไซเคิลในประเทศมากขึ้น ถือเป็นการสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม
# # #
รูปภาพเพิ่มเติม
สามารถดาวน์โหลดรูปภาพขนาด Hi-res ได้ที่ https://drive.google.com/drive/folders/1s_eR7aLhGOxBB2AcIPcgSaTVq5eD_74l?usp=sharing
เกี่ยวกับบริษัท ไทยเบเวอร์เรจแคน จำกัด
บริษัทผู้ผลิตกระป๋องและฝาอะลูมิเนียม สำหรับบรรจุเครื่องดื่ม โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท แสตนดาร์ดแคน จำกัด และบริษัท บอลล์ คอปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำจากบริษัท บอลล์ คอปอเรชั่น ผู้ผลิตกระป๋อง อลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม อันดับหนึ่งของโลก
บริษัทเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2540 บนพื้นที่กว่า 56 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช สระบุรี กำลังการผลิต: TBC ร่วมกับพันธมิตร บริษัท บอลล์ คอร์ปอเรชั่น มีกำลังการผลิตในภูมิภาคอาเซียน ทั้งสิ้น 4.6 พันล้านกระป๋อง และ 5.4 พันล้านฝา
ผลิตภัณฑ์: กระป๋องและฝาอะลูมิเนียม สำหรับบรรจุเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่
เกี่ยวกับมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R)
ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 เป็นมูลนิธิที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลัก 3R ได้แก่ Reduce, Reuse และ Recycle ส่งเสริมนวัตกรรม และแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดปริมาณขยะ และปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ พร้อมส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการคัดแยกและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นให้มีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และสนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักในคุณค่าของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน
สำหรับทุนในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ มาจากสองส่วน คือ ส่วนแรกมาจาก พระธรรมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้มอบปัจจัยที่ได้จากกิจกรรมผ้าป่ารีไซเคิล ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ๘๔ ล้านกิโลกรัม ร่วมใจรีไซเคิลเพื่อพ่อ โดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 และส่วนที่สองมาจากเงินบริจาคจาก บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
บริษัทผู้ผลิตกระป๋องและฝาอะลูมิเนียม สำหรับบรรจุเครื่องดื่ม โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท เบอร์ลี่ยุคเกอร์ จำกัด(มหาชน) กับ บริษัท แสตนดาร์ดแคน จำกัด และบริษัท บอลล์ คอปอเรชั่น ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้เทคโนโลยีชั้นนำจากบริษัท บอลล์ คอปอเรชั่น ผู้ผลิตกระป๋อง อลูมิเนียมสำหรับบรรจุเครื่องดื่ม อันดับหนึ่งของโลก
บริษัทเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2540 บนพื้นที่กว่า 56 ไร่ ในนิคมอุตสาหกรรมเหมราช สระบุรี กำลังการผลิต: TBC ร่วมกับพันธมิตร บริษัท บอลล์ คอร์ปอเรชั่น มีกำลังการผลิตในภูมิภาคอาเซียน ทั้งสิ้น 4.6 พันล้านกระป๋อง และ 5.4 พันล้านฝา
ผลิตภัณฑ์: กระป๋องและฝาอะลูมิเนียม สำหรับบรรจุเครื่องดื่ม ได้แก่ เบียร์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่
เกี่ยวกับมูลนิธิการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน (มูลนิธิ 3R)
ก่อตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2555 เป็นมูลนิธิที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมโดยใช้หลัก 3R ได้แก่ Reduce, Reuse และ Recycle ส่งเสริมนวัตกรรม และแนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อลดปริมาณขยะ และปริมาณการใช้พลาสติกผลิตใหม่ พร้อมส่งเสริมและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาคการศึกษา เพื่อให้เกิดการคัดแยกและกำจัดขยะอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นให้มีการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด และสนับสนุนและจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และสร้างความตระหนักในคุณค่าของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน
สำหรับทุนในการจดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ มาจากสองส่วน คือ ส่วนแรกมาจาก พระธรรมบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก ได้มอบปัจจัยที่ได้จากกิจกรรมผ้าป่ารีไซเคิล ภายใต้โครงการเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ๘๔ ล้านกิโลกรัม ร่วมใจรีไซเคิลเพื่อพ่อ โดยสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2556 และส่วนที่สองมาจากเงินบริจาคจาก บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด
No comments:
Post a Comment