ในส่วนของการบริหารจัดการน้ำ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ มีความเป็นห่วงถึงพี่น้องประชาชนทุกคน จึงกำชับให้กรมชลประทานเร่งดำเนินการ โดยในส่วนของการระบายน้ำเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 54 เครื่อง บริเวณเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และติดตั้ง เครื่องผลักดันน้ำ จำนวน 46 เครื่อง เพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย ปัจจุบันสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว โดยใช้เวลาในการระบายน้ำเพียง 3 วัน
“ ขณะที่การระบายน้ำในเขตลุ่มน้ำปากพนังทางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งฝั่งอ่าวไทย ฝั่งอ่าวปากพนัง สำนักงานชลประทานที่ 15 ได้จะดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยโดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 26 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 10 เครื่อง และได้วางแผนจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย เพิ่มอีก 75 เครื่อง คาดว่าจะสามารถเร่งการระบายตามความเหมาะสมออกจากพื้นที่ ภายใน 10 วัน ส่วนปริมาณน้ำในทุ่งจะสำรองไว้ให้เกษตรไว้ใช้ทำการเกษตรต่อไป”
พร้อมกันนี้ รองอธิบดีกรมชลประทานยังกล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือ พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม บ้านแสงวิมาน กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 13 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 16 เครื่อง รวมทั้งรถขุดสร้างคันกั้นน้ำ 17 คัน เพื่อดำเนินทำคันกั้นน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เพิ่มเติม และจะสูบระบายน้ำออกจากแปลงภายใน 5 วัน
“ขณะนี้ที่ตรัง กรมชลฯได้ตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมทำให้สามารถระบายน้ำเพิ่มประมาณ 800,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยมีการทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น หากไม่มีฝนเติมก็คาดว่าใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ “
สำหรับจังหวัดตรัง นายประพิศกล่าวว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ บริเวณตำบลบางรัก ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะหมิง และตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง โดยแนวโน้มสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดตรัง มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมวลน้ำสูงสุดได้เคลื่อนผ่านไปแล้ว
“ ขณะที่การระบายน้ำในเขตลุ่มน้ำปากพนังทางโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ทั้งฝั่งอ่าวไทย ฝั่งอ่าวปากพนัง สำนักงานชลประทานที่ 15 ได้จะดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาอุทกภัยโดยได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อเร่งระบายน้ำ จำนวน 26 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 10 เครื่อง และได้วางแผนจะติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพในการระบาย เพิ่มอีก 75 เครื่อง คาดว่าจะสามารถเร่งการระบายตามความเหมาะสมออกจากพื้นที่ ภายใน 10 วัน ส่วนปริมาณน้ำในทุ่งจะสำรองไว้ให้เกษตรไว้ใช้ทำการเกษตรต่อไป”
พร้อมกันนี้ รองอธิบดีกรมชลประทานยังกล่าวถึงการให้ความช่วยเหลือ พื้นที่เกษตรแปลงใหญ่ส้มโอทับทิมสยาม บ้านแสงวิมาน กรมชลประทานได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 13 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำจำนวน 16 เครื่อง รวมทั้งรถขุดสร้างคันกั้นน้ำ 17 คัน เพื่อดำเนินทำคันกั้นน้ำไม่ให้น้ำไหลเข้าพื้นที่เพิ่มเติม และจะสูบระบายน้ำออกจากแปลงภายใน 5 วัน
“ขณะนี้ที่ตรัง กรมชลฯได้ตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติมทำให้สามารถระบายน้ำเพิ่มประมาณ 800,000 ลบ.ม.ต่อวัน โดยมีการทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น หากไม่มีฝนเติมก็คาดว่าใช้เวลาประมาณ 4-5 วัน สถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติ “
สำหรับจังหวัดตรัง นายประพิศกล่าวว่า ปัจจุบันมีพื้นที่ลุ่มต่ำได้รับผลกระทบ บริเวณตำบลบางรัก ตำบลหนองตรุด ตำบลนาโต๊ะหมิง และตำบลนาตาล่วง อำเภอเมือง โดยแนวโน้มสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดตรัง มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากมวลน้ำสูงสุดได้เคลื่อนผ่านไปแล้ว
No comments:
Post a Comment