โครงการ "การขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง" มุ่งที่จะพัฒนาการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ที่ยั่งยืนให้กับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม (CLMV) และไทย อย่างน้อย 500 ราย การดำเนินในส่วนแรกเป็นการเพิ่ม ประสิทธิภาพการใช้เซื้อเพลิงและลดรอยเท้าทางนิเวศน์ของกิจการขนส่งสินค้าใน ภูมิภาค โครงการฯ ได้ร่วมมือกับ บริษัท สมาคมขนส่งสินค้า ธนาคารและรัฐบาลของประเทศเป้าหมายดังกล่าวข้างต้นในการจัดกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม เช่น การขับรถเพื่อประหยัดพลังงาน (eco-driving ) การบำรุงรักษารถที่ดียิ่งขึ้น การนำเทคโนโลยีประหยัดเชื้อเพลิงไปใช้ การเพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับการยกระดับรถบรรทุก และ การยกระดับมาตรฐานคุณภาพและการให้บริการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ในส่วนที่สองนั้นเป็นการดำเนินการในเรื่องการขนส่งสินค้าอันตรายอย่างปลอดภัย โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับปรุงกรอบของกฎหมายและเสริมสร้างศักยภาพในการปฏิบัติงานให้เเก่หน่วยงานรัฐและบริษัทต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานการขนส่งสินค้าอันตรายสากล (EU-ADR)
โครงการนี้เริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 จนถึงเดือนมกราคม 2562 โดยได้รับเงินสนับสนุนหลักจากกองทุน SWITCH Asia ของสหภาพยุโรป เพื่อส่งเสริมโครงการการผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืนทั่วทวีปเอเชีย โครงการนี้ดำเนินการโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (Mekong Institute) สมาคมขนส่งสินค้า GMS (GMS Freight Transport Association) รวมทั้งโครงการการขนส่งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาเซียน-เยอรมันนี (ASEAN-German Transport and Climate Change project)
การต่าเนินการตลอดช่วง 3 ปีของโครงการมีผลลัพธ์ที่ดีในแง่ของการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของรถบรรทุก ความปลอดภัยบนท้องถนน และกฏระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยรวมแล้วโครงการนี้ประสบความสำเร็จในการสนับสนุนให้ SME กว่า 500 รายประหยัดเชื้อเพลิงด้ายการขับรถเพื่อประหยัดพลังงาน ( eco-driving ) และการขับขี่ปลอดภัย (defensive driving) นอกจากนี้โครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนกระทรวงคมนาคมของทั้ง 5 ประเทศในการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าอันตรายตามแนวปฎิบัติ EU-ADR ยกตัวอย่างเช่น ประเทศเมียนมาได้ออกประกาศที่เกี่ยวข้องรวม 6 ฉบับ ประเทศเวียดนามกำลังทำการแก้ไขกฤษฎีกา เลขที่ 104 และประเทศกัมพูชาได้เสนอ 6 มาตราเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติ
ความสำเร็จเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยความร่วมมืออย่างเข้มแข็งระหว่างสมาคมธุรกิจ SME กระทรวงต่าง ๆ ของทั้ง 5 ประเทศตลอดจนบริษัทนานาชาติหลายแห่ง จะมีการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีและบทเรียนที่ได้รับไปยังประเทศต่างๆ ผ่านงานปิดโครงการและเผยแพร่ไปยังกลุ่มผู้รับข้อมูลที่กว้างขวางมากขึ้นทั้งในภาคเอกชนและในกลุ่มตัวแทนของหน่วยงานรัฐ
วัตถประสงค์:
• เพื่อนำเสนอบทเรียนและแนวปฏิบัติที่ดีในการเพื่มประสิทธภาพ การใช้เชื้อเพลิงและผลการดำเนินการด้านธุรกิจของภาคส่วนนี้
• เพื่ออภิปรายถึงขั้นตอนในการขยายผลประโยชน์ของการใช้
เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพและการขนส่งสินค้าอันตรายอย่าง
ปลอดภัยต่อไป
• เพื่อเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความ
• เพื่อเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้มีความ
แข็งเเกร่งยิ่งขึ้น
.
.
No comments:
Post a Comment