ด้วยพระเมตตาและพระวิสัยทัศน์ใน ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี องค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ทรงจัดตั้งและเสด็จเปิดศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 สืบเนื่องจากการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์นับเป็นความก้าวหน้าอีกอย่างหนึ่งในวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ไทย การจัดตั้งศูนย์แห่งนี้จึงเป็นการช่วยบุกเบิกเทคโนโลยีในด้านการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็ง และโรคระบบประสาทที่ทันสมัย เพื่อให้เกิดประโยชน์และความคุ้มค่าอย่างสูงสุดแก่ประชาชนคนไทย ศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้ทรงวางแนวทางการดำเนินงาน และทรงสนับสนุนทุกวิถีทางทั้งการติดต่อกับต่างประเทศ ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ทรงติดตามการก่อสร้าง และติดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆด้วยพระองค์เอง เพื่อให้ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติแห่งนี้เป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นเลิศทั้งทางด้านวิชาการเป็นแหล่งศึกษาวิจัยถ่ายทอดองค์ความรู้ และให้บริการทางการแพทย์ด้านการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคโนโลยีระดับสูงเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการร่วมกัน
ช่วยเหลือและดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ณ ปัจจุบัน ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เป็นศูนย์กลางการผลิตสารเภสัชรังสีจากเครื่องไซโคลตรอนที่สามารถจำหน่ายสารเภสัชรังสีให้กับโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีเครื่องเพท-ซีที อีกทั้งให้บริการตรวจเพท-ซีที สแกนแก่ผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาและผู้ป่วยที่ส่งมาจากโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ควบคู่กับการพัฒนาการศึกษาวิจัยคิดค้นการผลิตสารเภสัชรังสีต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง ณ ขณะนี้ทางศูนย์ฯ สามารถผลิตสารเภสัชรังสีเพื่อใช้ประโยชน์สำหรับการตรวจวินิจฉัยและรักษาได้ทั้งหมด 13 ตัว
ในปี 2562 นี้ เป็นปีที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 10 ของการเปิดดำเนินงาน โดยในปีนี้ทางโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ก็จะมีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านต่างๆ ที่จะนำมาใช้ให้บริการแก่ประชาชนที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ตลอดจนนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางการการแพทย์ การสาธารณสุข และการพัฒนานวัตกรรมที่ตอบรับความต้องการของประเทศไทยอย่างครบวงจร และเพื่อให้สอดรับตามแผนยุทธศาสตร์ชาติสู่ประเทศไทย 4.0 ศูนย์ไซโคลตรอนและเพทสแกนแห่งชาติ จึงได้เปิดตัวเครื่อง “ดิจิทัลเพทซีที” ซึ่งเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ได้เปิดตัวให้บริการเป็นแห่งแรกในเอเชีย เพื่อรองรับการให้บริการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง โรคทางระบบประสาท และโรคหัวใจ ของประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อมุ่งหวังให้โรงพยาบาลจุฬาภรณ์เป็นโรงพยาบาลของประชาชนคนไทยทุกคน โดยเฉพาะผู้ป่วยยากไร้และด้อยโอกาสที่จะได้มีโอกาสเข้าถึงบริการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากลอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นสิ่งโรงพยาบาลยึดถือตลอดระยะเวลาที่เปิดดำเนินงานมา
10 คุณสมบัติของเครื่อง “ดิจิทัลเพทซีที” (Digital Pet/CT Biograph Vision)
Ultra-Dynamic Range ของหัวนับวัด (Detector) มีการตอบสนองที่ดีต่อรังสีความแรงสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถใช้ตรวจวินิจฉัยได้กับสารรังสีหลายชนิดมากขึ้นขนาดคริสตัลที่ใช้ในการทำหัวนับวัดรังสีมีขนาดเล็กที่สุดในปัจจุบัน ทำให้ได้ภาพที่มีรายละเอียดสูงมาก สามารถสร้างภาพได้อย่างชัดเจนแม้มีรอยโรคขนาดเล็กทำให้มีความถูกต้องแม่นยำมากยิ่งขึ้นสามารถเก็บค่านับวัดได้ในเวลาที่รวดเร็ว ลดระยะเวลาในการสแกนลงถึง 3 เท่ามีค่า Time of flight ที่สั้นที่สุดในปัจจุบัน สามารถสร้างภาพที่มีรายละเอียด และความชัดเจนสูง เพื่อลดการใช้รังสีกับผู้ป่วย ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลง และลดระยะเวลาในการตรวจให้สั้นที่สุดเพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ป่วย โดยได้ผลการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้องมากยิ่งขึ้นเครื่อง PET/CT ในอดีตจะรายงานผลค่าของ SUV ซึ่งเป็นเพียงค่าการสะสมของน้ำตาล แต่ในเครื่องดิจิทัลเพทซีที สามารถวิเคราะห์การใช้น้ำตาล (Ki) ในรอยโรคนั้นๆได้ ช่วยให้แพทย์มีข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัย วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษาสร้างภาพหัวใจแบบ Dual Gating Deviceless ได้ โดยใช้เพียงการจับการเต้นของหัวใจด้วย EKGมีระบบ Software ซึ่งสามารถลด Metal Artifact ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการขยายบริเวณในการเก็บภาพออกไปเพื่อครอบคลุมบริเวณรอยโรคทั้งหมดมีระบบ AI ช่วยในการระบุตำแหน่งของอวัยวะหรือรอยโรคในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพื่อทำการคำนวณได้โดยอัตโนมัติอย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำบริเวณช่องรับตัวผู้ป่วย (Bore) มีความกว้างมากถึง 78 cm. และขนาดอุโมงค์ที่สั้น ทำให้ลดความอึดอัด และเพิ่มความสบายให้กับผู้ป่วยระหว่างการตรวจวินิจฉัย
มีเทคนิคใหม่ในการถ่ายภาพอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหว เช่น ช่วงหน้าอก และช่องท้องจากการหายใจ และหัวใจที่มีการเต้นอยู่ตลอดเวลา เป็นการแก้ไขการสั่นไหวของภาพโดยไม่เพิ่มเวลาในการถ่ายภาพ ทำให้ได้ภาพที่มีความคมชัดโดยผู้ป่วยไม่ต้องกลั้นหายใจ
No comments:
Post a Comment