ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว K PLUS ใหม่ ด้วยคอนเซปต์ “เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น” เปลี่ยนโลโก้และหน้าตาใหม่ เพิ่มฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล ชูจุดแข็งนวัตกรรม “เกด” (KADE) โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน สามารถเรียนรู้และประมวลผลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน พร้อมด้วยโครงสร้างเทคโนโลยีรูปแบบ “โอเพ่น แพลทฟอร์ม” (Open Platform) เชื่อมต่อกับแพลทฟอร์มพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เชื่อมั่นว่า ภายใน 3 ปีศักยภาพของ K PLUS ใหม่ จะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ของธนาคารให้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้านบัญชี และทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารวมเป็น 20 ล้านราย
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แพลทฟอร์มของ K PLUS ใช้งานมาแล้วกว่า 5 ปี ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน K PLUS มากกว่า 61% ของลูกค้าธนาคารทั้งหมด 15 ล้านราย มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนลูกค้าและปริมาณธุรกรรม ธนาคารจึงพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ใหม่ พร้อมกับนำเสนอฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล (Personalization) ด้วยคอนเซปต์ “เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น” ทุกอย่างทำได้จบในแอปเดียว ทำให้เป็นแอปที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ใช้จ่ายและเพลิดเพลิน (Pay & Play) กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากแบรนด์ดังมากมายที่จะมารวมตัวอยู่บนแพลทฟอร์มของ K PLUS
K PLUS ใหม่ มีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน 3 เรื่อง คือ 1) เปลี่ยนโลโก้ K PLUS ใหม่ และหน้าตาและการจัดวางเมนูการใช้งานใหม่ เพื่อให้ทันสมัยเข้ากับยุคดิจิทัล 2) ปุ่มธุรกรรม รวมปุ่มโอนเติมจ่ายและอื่นๆ ให้อยู่ในปุ่มเดียว ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น 3) พัฒนาฟังก์ชันการใช้งานที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละบุคคล (Personalization) โดยการนำข้อมูล (Big Data) มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า ทำให้นำเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเลือกปรับเปลี่ยนฟังก์ชันที่ใช้บ่อยได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
นายพัชร กล่าวต่อว่า ธนาคารวางกลยุทธ์และเป้าหมายของ K PLUS 3 ด้าน ได้แก่
1) เพิ่มสัดส่วนการใช้งานฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ของ K PLUS อีก 5-10% ภายใน 1 ปี ปัจจุบันฟังก์ชันที่ลูกค้านิยมใช้มากที่สุดคือ รายการโอน-เติม-จ่าย คิดเป็น 125 ล้านรายการต่อเดือน ในขณะที่ฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ที่มีอยู่ใน K PLUS แล้ว ยังมีปริมาณการทำธุรกรรมที่น้อยกว่าที่คาดหมาย ซึ่งมีจำนวนธุรกรรมรวม 500,000 รายการต่อเดือน หรือน้อยกว่า 1% ของรายการโอนเติมจ่าย โดยธนาคารวางแผนพัฒนาฟังก์ชันใหม่ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้มากกว่าการโอนเติมจ่าย และเข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้งานมากขึ้น และเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 5-10% ภายใน 1 ปี
2) K PLUS เป็นช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงบริการผลิตภัณฑ์ด้านการเงินของธนาคาร ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินต่างๆ ผ่าน K PLUS ได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น ฟังก์ชันถอนเงินโดยไม่ใช่บัตร ซื้อกองทุน โดยเฉพาะบริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่เปิดให้บริการมา 8 เดือน ช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนขนาดเล็ก (Micro Finance) ให้กับลูกค้าทั่วไปและผู้ประกอบการรายย่อย มีส่วนผลักดันให้ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลสะสมเติบโตกว่า 4% มียอดสินเชื่อใหม่จนถึงเดือนสิงหาคมประมาณ 16,300 ล้านบาท เทียบกับปลายปีก่อนที่มีมูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลคงค้างที่ 15,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายในปีนี้ปล่อยสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท หรือคิดรวมเป็น 22,700 ล้านบาท
3) มุ่งเพิ่มฐานลูกค้ารวมของธนาคารให้ได้ 20 ล้านบัญชีภายใน 3 ปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารมีฐานลูกค้าใหม่เฉลี่ยปีละกว่า 1 ล้านบัญชี ปัจจุบันธนาคารมีจำนวนบัญชีลูกค้ารวม 15 ล้านบัญชี และเชื่อมั่นว่า ภายใน 3 ปี ฐานลูกค้าใหม่ของธนาคารให้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้านบัญชี และทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารวมเป็น 20 ล้านบัญชี โดยที่จำนวนลูกค้า K PLUS ส่วนหนึ่งจะมาจากการเติบโตของฐานลูกค้ารวมของธนาคาร และอีกส่วนที่สำคัญจะมาจากกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าที่ไม่ได้มีบัญชีของธนาคาร เช่น ลูกค้าที่ใช้ อี-วอลเล็ต รวมถึงการเปิดให้ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ โดยเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้แก่ลูกค้าได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
3) มุ่งเพิ่มฐานลูกค้ารวมของธนาคารให้ได้ 20 ล้านบัญชีภายใน 3 ปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารมีฐานลูกค้าใหม่เฉลี่ยปีละกว่า 1 ล้านบัญชี ปัจจุบันธนาคารมีจำนวนบัญชีลูกค้ารวม 15 ล้านบัญชี และเชื่อมั่นว่า ภายใน 3 ปี ฐานลูกค้าใหม่ของธนาคารให้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้านบัญชี และทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารวมเป็น 20 ล้านบัญชี โดยที่จำนวนลูกค้า K PLUS ส่วนหนึ่งจะมาจากการเติบโตของฐานลูกค้ารวมของธนาคาร และอีกส่วนที่สำคัญจะมาจากกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าที่ไม่ได้มีบัญชีของธนาคาร เช่น ลูกค้าที่ใช้ อี-วอลเล็ต รวมถึงการเปิดให้ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ โดยเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้แก่ลูกค้าได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) กล่าวว่า แนวคิดการพัฒนา K PLUS ขยายจากการเป็นแอปมาสู่ “K PLUS Intelligence Platform” ที่นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้งความเสถียร ความปลอดภัย และความง่ายในประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า รวมถึงการขยายเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจต่างๆ
“เกด” (KADE: K PLUS AI-Driven Experience) เป็นหัวใจสำคัญในพัฒนาศักยภาพของ K PLUS โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน ด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน รู้จัก รู้ใจคนใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายคนได้ เช่น ฟังก์ชัน K PLUS Today สามารถแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ และแนะนำผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า, เทคโนโลยีแมชชีน เลนดิ้ง (Machine Lending) ที่อยู่ใน K PLUS ทำให้ธนาคารนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอสินเชื่อส่วนบุคคล (K-Personal Loan) และสินเชื่อธุรกิจ ที่เหมาะสมกับความสามารถในการกู้และตรงกับความต้องการของลูกค้าผ่านแอปฯ K PLUS และในอนาคตยังสามารถแนะนำการใช้จ่ายและการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้า นอกจากนี้ K PLUS ยังมีโครงสร้างเทคโนโลยี “โอเพ่น แพลทฟอร์ม” (Open Platform) พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับช่องทางบริการและพันธมิตรในธุรกิจต่างๆ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงการนำเสนอบริการใหม่ๆ
“เป้าหมายการพัฒนา K PLUS คือ ทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ ‘รู้จักจนรู้ใจ’ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด ศักยภาพของ K PLUS ในอนาคต จะทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ เกิดธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ใช้ K PLUS ถึง 100 ล้านคนทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมกันและมีชีวิตที่ดีขึ้น” นายสมคิด กล่าวปิดท้าย
“เป้าหมายการพัฒนา K PLUS คือ ทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ ‘รู้จักจนรู้ใจ’ ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด ศักยภาพของ K PLUS ในอนาคต จะทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ เกิดธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ใช้ K PLUS ถึง 100 ล้านคนทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมกันและมีชีวิตที่ดีขึ้น” นายสมคิด กล่าวปิดท้าย
No comments:
Post a Comment