นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. กล่าวว่า ภายใต้ การขับเคลื่อนปีท่องเที่ยวไทย 2566 ททท. มุ่งพัฒนาศักยภาพประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบกับกระแสการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ (Experience-based-Tourism) ที่เปี่ยมคุณค่า และความหมาย (Meaningful Travel) กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ Gen Y-Z และวัยทำงาน ททท. จึงมีแนวคิดผลักดันการท่องเที่ยวควบคู่กับการสร้างความยั่งยืนด้วยระบบคมนาคมขนส่ง ที่สามารถเชื่อมโยงและสร้างการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทย และเล็งเห็นประโยชน์ของการต่อยอดการท่องเที่ยวโดยรถไฟซึ่งมีมนต์เสน่ห์เฉพาะตัวที่สามารถเติมเต็มประสบการณ์ สร้างแรงบันดาลใจแก่นักท่องเที่ยวผ่านช่วงเวลาระหว่างทางด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของผู้คนที่ผูกพันกับรถไฟ สะท้อนความหมายที่แท้จริงของการเดินทางได้เป็นอย่างดี
โครงการ The story of Railway Journey “เที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง” ได้เปิดรับสมัคร และคัดเลือกนักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง จากทั่วประเทศ จำนวน 10 ทีม (ทีมละ 2 คน) ผ่านเข้าร่วม การแข่งขันเฟ้นหา “สุดยอดเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโดยรถไฟ โครงการ The story of Railway Journey “เที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง” ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางท่องเที่ยว และออกแบบสร้างสรรค์สื่อนำเสนอเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโดยรถไฟ และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ของโครงการฯ เพื่อชิงเงินรางวัลรวมกว่า 100,000 แสนบาท พร้อมโล่ประกาศเกียรติคุณจาก ททท.
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ถือเป็นรอบชิงชนะเลิศของโครงการฯ โดยกำหนดให้ทีมที่ผ่าน การคัดเลือกทั้ง 10 ทีม นำเสนอการสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโดยรถไฟต่อคณะกรรมการ ซึ่งมีผล การแข่งขัน ดังนี้ รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง ได้แก่ ทีม Touch And Go รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Freeland รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีมเปรี้ยวกับป้า รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ทีม The Couple และทีมสับราง team รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท พร้อมกันนี้ 10 ทีม นักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับประกาศนียบัตรด้วย
นอกจากนี้ ภายในงานยังได้มีการจัดเวทีเสวนา ภายใต้หัวข้อ “เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยว ที่ร่วมค้นหาช่วงเวลาแห่งชีวิตที่เต็มเปี่ยม – Exploring the Meaningful Experience” ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับตัวแทนพันธมิตรของห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในแต่ละมิติ โดยได้รับเกียรติจาก นายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. คุณอวิรุทธ์ ทองเนตร รองผู้ว่าการรถไฟ แห่งประเทศไทย คุณวัลย์ณัฐ บุญประเสริฐ เลขาธิการสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (TEATA) และนายจิรายุ ลิ่มจินดา ผู้ก่อตั้งแพลตฟอร์มจัดทริปเที่ยว ทริปไนซ์เดย์ (TripNiceDay) ร่วมจุดประกายความคิดและต่อยอดประสบการณ์ท่องเที่ยว
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการฯ ผลงานเส้นทางท่องเที่ยว และกิจกรรม การท่องเที่ยวของนักเที่ยวทั้ง 10 ทีมนักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ได้ที่ เว็บไซต์ www.therailwayjourney.com และแฟนเพจเฟสบุ๊ก The story of Railway Journey
---------------------------------------------------------------------------------
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ถือเป็นรอบชิงชนะเลิศของโครงการฯ โดยกำหนดให้ทีมที่ผ่าน การคัดเลือกทั้ง 10 ทีม นำเสนอการสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวชุมชนโดยรถไฟต่อคณะกรรมการ ซึ่งมีผล การแข่งขัน ดังนี้ รางวัลชนะเลิศสุดยอดนักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง ได้แก่ ทีม Touch And Go รับโล่ประกาศเกียรติคุณ จากนายอภิชัย ฉัตรเฉลิมกิจ รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว ททท. พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 50,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ ทีม Freeland รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 30,000 บาท รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีมเปรี้ยวกับป้า รับโล่ประกาศเกียรติคุณ พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท และรางวัลชมเชย จำนวน 2 รางวัล ได้แก่ ทีม The Couple และทีมสับราง team รับเงินรางวัลมูลค่า 5,000 บาท พร้อมกันนี้ 10 ทีม นักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ราง ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ จะได้รับประกาศนียบัตรด้วย
ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดโครงการฯ ผลงานเส้นทางท่องเที่ยว และกิจกรรม การท่องเที่ยวของนักเที่ยวทั้ง 10 ทีมนักเที่ยวแบบสับ (จับเรื่อง) ได้ที่ เว็บไซต์ www.therailwayjourney.com และแฟนเพจเฟสบุ๊ก The story of Railway Journey
---------------------------------------------------------------------------------
No comments:
Post a Comment