ทั้งนี้ ในการดำเนินงานช่วงครึ่งปีหลัง ททท. จึงพลิกโฉมกลยุทธ์การนำเสนอขายสินค้าท่องเที่ยวด้วยการเจียระไนแหล่งท่องเที่ยวเดิม และค้นหาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา เพื่อเป็นการกระจายข้อมูลด้านการท่องเที่ยวใหม่ๆ และก่อให้เกิดการเดินทางในหมู่นักท่องเที่ยว โดยเปิดตัวโครงการ "ขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย" (Tourism Treasures Throughout Thailand) ที่จะใช้เป็นแผนในการดำเนินงานของ ททท.ในช่วงครึ่งปีหลังนี้
สินค้าท่องเที่ยวภายใต้กระบวนการพัฒนาแบบ 360 องศา นี้แบ่งตามประเภทสินค้าการท่องเที่ยว ได้แก่
ประเภทที่ 1 สินค้าท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ เส้นทางเดินป่า หาดทราย ชายทะเล เป็นต้น โดยแต่ ละภูมิภาคต่างมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว และพร้อมสร้างประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ประเภทที่ 2 สินค้าท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ การท่องเที่ยวชุมชน ที่สร้างประสบการณ์ (Local Experience) รวมถึงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา แต่ยังคงกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์
ประเภทที่ 3 สินค้าท่องเที่ยวเชิงมูลค่า เป็นกลุ่มสินค้าท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าและเกิดรายได้จากการใช้บริการ เช่น การท่องเที่ยวของคู่แต่งงาน-ฮันนีมูน , การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม การท่องเที่ยวทางน้ำสไตล์หรูหรา ล่องเรือ ยอร์ชชมทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เป็นต้น
ประเภทที่ 4 สินค้าท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ (Niche Market) เช่น ท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ เช่น Music Festival ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่จัดมหกรรมดนตรีระดับนานาชาติ ได้โดดเด่น และถูกใจชาวต่างชาติ โดยได้เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ พร้อมกับร่วมกิจกรรมนันทนาการไปพร้อม ๆ กัน
กลยุทธ์นี้จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกวัน มากขึ้น กระจายรายได้ทางการท่องเที่ยวสู่ชุมชน นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยที่ผ่านมา ททท. ได้ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอย่างรอบด้าน ทั้งด้าน Demand และ ด้าน Supply ในส่วนของ Demand ได้กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว และผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งถึงระดับชุมชน ผ่านกิจกรรมการตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
สำหรับ ด้าน Supply มีการเตรียมความพร้อมด้วยการลงพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์และวิจัยตลาด ส่งเสริมและสร้างสรรค์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน สร้างเครือข่ายและองค์กรเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่เกี่ยวข้อง จัดอบรม มอบองค์ความรู้ด้านการตลาดแก่คนในชุมชนและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำไปต่อยอดและสร้างอัตลักษณ์แก่สินค้าท่องเที่ยว พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
ประเภทที่ 1 สินค้าท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้ เส้นทางเดินป่า หาดทราย ชายทะเล เป็นต้น โดยแต่ ละภูมิภาคต่างมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันมีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว และพร้อมสร้างประสบการณ์ด้านการท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน
ประเภทที่ 2 สินค้าท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวที่มีอัตลักษณ์ การท่องเที่ยวชุมชน ที่สร้างประสบการณ์ (Local Experience) รวมถึงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ถึงแม้จะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา แต่ยังคงกลิ่นอายความเป็นไทยอย่างสมบูรณ์
ประเภทที่ 3 สินค้าท่องเที่ยวเชิงมูลค่า เป็นกลุ่มสินค้าท่องเที่ยวที่สร้างมูลค่าและเกิดรายได้จากการใช้บริการ เช่น การท่องเที่ยวของคู่แต่งงาน-ฮันนีมูน , การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความงาม การท่องเที่ยวทางน้ำสไตล์หรูหรา ล่องเรือ ยอร์ชชมทะเลอ่าวไทย และทะเลอันดามัน เป็นต้น
ประเภทที่ 4 สินค้าท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ (Niche Market) เช่น ท่องเที่ยวเชิงกีฬา การท่องเที่ยวเชิงอาหาร ท่องเที่ยวเชิงนันทนาการ เช่น Music Festival ขณะนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่จัดมหกรรมดนตรีระดับนานาชาติ ได้โดดเด่น และถูกใจชาวต่างชาติ โดยได้เดินทางมาท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ พร้อมกับร่วมกิจกรรมนันทนาการไปพร้อม ๆ กัน
กลยุทธ์นี้จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกวัน มากขึ้น กระจายรายได้ทางการท่องเที่ยวสู่ชุมชน นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำของสังคม โดยที่ผ่านมา ททท. ได้ดำเนินการส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยอย่างรอบด้าน ทั้งด้าน Demand และ ด้าน Supply ในส่วนของ Demand ได้กระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการกระจุกตัวของนักท่องเที่ยว และผลักดันให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวอย่างลึกซึ้งถึงระดับชุมชน ผ่านกิจกรรมการตลาดและสื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ
สำหรับ ด้าน Supply มีการเตรียมความพร้อมด้วยการลงพื้นที่ ดำเนินการวิเคราะห์และวิจัยตลาด ส่งเสริมและสร้างสรรค์แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน สร้างเครือข่ายและองค์กรเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนที่เกี่ยวข้อง จัดอบรม มอบองค์ความรู้ด้านการตลาดแก่คนในชุมชนและยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถนำไปต่อยอดและสร้างอัตลักษณ์แก่สินค้าท่องเที่ยว พร้อมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ (Responsible Tourism) ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
กิจกรรมของโครงการขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทย นอกจากการสร้างเส้นทางท่องเที่ยวใหม่ ๆ การเจาะลึกถึงพื้นที่ท่องเที่ยวที่มีศักยภาพ โครงการนี้ยังมีการจัดทำแหล่งข้อมูลทางเว็บไซต์www.tourismthailand.org/tourismtreasures โดยร่วมกับ TikTok ผู้นำด้านแอปพลิเคชั่นวีดีโอ ที่มีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคนทั่วโลก ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยเผยแพร่วีดีโอกิจกรรมขุมทรัพย์ท่องเที่ยวไทยไปยังนักท่องเที่ยวทั่วโลก พร้อมจัดทำ Content นำเสนอขุมทรัพย์ท่องเที่ยว และการสร้างระบบขุมทรัพย์ท่องเที่ยวที่เหมาะกับผู้ใช้งานแต่ละคน
ททท. หวังว่าโครงการ ขุมทรัพย์ท่องเที่ยว หรือ Tourism Treasures Throughout Thailand จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางท่องเที่ยวทั่วไทย ไปได้ทุกวัน ขยายตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ๆ สร้างโอกาสให้กับแหล่งท่องเที่ยวในทุกจังหวัดของประเทศไทย ยกระดับสินค้าการท่องเที่ยว สร้างมูลค่าเพิ่มด้านการท่องเที่ยว มีช่องทางการตลาดที่จะหารายได้เพิ่มจากการท่องเที่ยว เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งและยั่งยืน
สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมชมได้ที่www.tourismthailand.org/tourismtreasures
No comments:
Post a Comment