11 ต.ค. 2562 สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยจัดงานแถลงข่าวสรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 9 เดือนแรกปี 2562 และแนวโน้มช่วงที่เหลือของปี โดยคุณธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ และคุณอริยา ติรณะประกิจ รองกรรมการผู้จัดการ
“ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสงครามการค้าและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ลดลงสู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ บริษัทเอกชนไทยระดมทุนผ่านการออกหุ้นกู้ระยะยาวอย่างต่อเนื่องโดยมูลค่าการออกในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้สูงกว่า 8 แสนล้านบาท เกือบเท่ากับมูลค่าการออกปีที่แล้วทั้งปี สำหรับกระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยพลิกกลับเป็นการขายสุทธิ จากสถานการณ์ความผันผวนของตลาดการเงินโลก ทำให้ใน 9 เดือนที่ผ่านมา มีเงินลงทุนของต่างชาติออกจากตลาดตราสารหนี้รวมสุทธิ 7.5 หมื่นล้านบาท”
นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) เปิดเผยถึงภาวะตลาดตราสารหนี้ ไทยใน 9 เดือนแรกนี้ว่า ตลาดตราสารหนี้ไทยโดยรวมขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 3.7 มีมูลค่าคงค้างรวมเพิ่มขึ้นเป็น 13.27 ล้านล้านบาท จาก 12.79 ล้านล้านบาทเมื่อสิ้นปีที่ผ่านมา โดยตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะยาวมีการออกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน ทําให้มูลค่าการออกใน 9 เดือนแรกปีนี้เกือบเท่ากับมูลค่าการออกปีที่แล้ว ทั้งปี โดยมีการออกเพิ่มขึ้นจากทั้งกลุ่ม Bank&Finance และ Real sector โดยกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Property sector) เป็นกลุ่มเดียวที่มียอดการออกเพิ่มขึ้นทุกปีตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้นมีมูลค่าการ ออกลดลงจากช่วงเดียวกันกับปีที่แล้วกว่าร้อยละ 66 โดยการออกตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange) ส่วนใหญ่เป็นการเสนอ ขายต่อนักลงทุนสถาบัน
กระแสเงินลงทุนต่างชาติในตลาดตราสารหนี้ไทยเริ่มพลิกกลับมาเป็นการขายสุทธิในช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจาก ธปท. ใช้มาตรการป้องปรามการเก็งกําไรค่าเงินในช่วงต้นเดือนกรกฏาคม ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเป็น ครั้งแรกในรอบกว่า 10 ปีในช่วงปลายเดือนกรกฏาคม ตามมาด้วยธนาคารกลางในประเทศต่างๆ รวมถึงประเทศไทย ทยอยปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนสิงหาคม ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีการปรับพอร์ตการลงทุนและทยอยขายทํากําไร มี การขายสุทธิตราสารหนี้ไทยตลอดไตรมาส 3 ทําให้ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ เงินลงทุนสุทธิของนักลงทุนต่างชาติใน ตราสารหนี้ลดลง 75,722 ลานบาท โดยเป็นการลดลงในตราสารหนี้ภาครัฐระยะสั้น 126,105 ล้านบาท และเพิ่มขึ้นในตราสารหนี้ภาครัฐระยะยาว 50,383 ล้านบาท ส่วนมูลค่าการลงทุนสะสมสุทธิของต่างชาติในตราสารหนี้ไทย ณ สิ้น ไตรมาส 3 เท่ากับ 918,343 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ6.9ของมูลค่ารวมตลาดตราสารหนี้ไทย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยลดลงสู่ระดับต่ําสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2562 โดย Bond Yield อายุ 5 ปี และ 10 ปีทําสถิติแตะระดับต่ําสุดที่ร้อยละ 1.34 และร้อยละ 1.43 ตามลําดับ เส้นอัตรา ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีทิศทางเคลื่อนไหวแบนราบลง (Flatten) ทั้งเส้นเมื่อสิ้นไตรมาส 3 โดยรุ่นอายุไม่เกิน 1 ปี ตั้งแต่ต้นปีปรับตัวลง 11-29 bps. ส่วนรุ่นอายุ10 ปี ปรับตัวลงกว่า 102 bps. จากร้อยละ 2.51 เมื่อต้นปีลงมาที่ร้อยละ 1.49 เมื่อสิ้นไตรมาส 3
สําหรับทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทยคาดว่า จากเงินบาทที่แข็งค่าและอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง จะเป็นแรง กดดันให้กนง. ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกครั้งในช่วงปลายปีนี้ทําให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ขยับลดลงตาม ส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวซึ่งอยู่ในระดับต่ําสุดแล้ว น่าจะมีโอกาสปรับตัวลงได้อีกไม่ มาก แต่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้หากการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มว่าจะตกลงกันได้
ส่วนของผลกระทบจากภาษีการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวมที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมา ภายใต้จํานวนตัวอย่างข้อมูลที่มีจํากัดพบว่า ตราสารหนี้ระยะสั้นมีมูลค่าการออกลดลงเฉลี่ยร้อยละ 70 ในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังการเก็บภาษีมูลค่าการซื้อขายของกลุ่มกองทุนรวมในตราสารหนี้ระยะสั้นและระยะยาวลดลงกว่าร้อยละ 61 และร้อยละ 33 ตามลําดับ นอกจากนี้ Credit spread ภายหลังการเก็บภาษีของตราสารหนี้ภาคเอกชนมีการปรับ เพิ่มขึ้นและลดลงขึ้นกับระดับความน่าเชื่อถือและอายุคงเหลือโดยในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 0-20 bps.
สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ไทย 9 เดือนแรก ปี 2562 (เอกสารประกอบแถลงข่าว)
🌐 http://www.thaibma.or.th/doc/press/y2019/9M-2019_final.pdf
No comments:
Post a Comment