ศิลปิน พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ถ่ายทอดศิลปะการแสดงร่วมสมัย ของไทย สู่สายตาระดับโลก ใน The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ณ นครเวนิช - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, May 27, 2024

ศิลปิน พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ถ่ายทอดศิลปะการแสดงร่วมสมัย ของไทย สู่สายตาระดับโลก ใน The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ณ นครเวนิช


ศิลปิน พิเชษฐ์ กลั่นชื่น ถ่ายทอดศิลปะการแสดงร่วมสมัย
ของไทย สู่สายตาระดับโลก
ใน The Spirits of Maritime Crossing : 
วิญญาณข้ามมหาสมุทร ณ นครเวนิช

มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐ เอกชน และเครือข่ายพันธมิตร ทุกภาคส่วน เชิญชวนเที่ยวงาน The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ซึ่งเป็นกิจกรรมหลักในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 (The 60th International Art Exhibition, La Biennale di Venezia) เพื่อนำเสนอผลงานของศิลปินจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้สำรวจเรื่องราวการย้ายถิ่น การพลัดถิ่น และการล่าอาณานิคมข้ามทะเล โดยมีศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ในฐานะภัณฑารักษ์ พร้อมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ - 24 พฤศจิกายน 2567 ที่ Palazzo Smith Mangilli Valmarana ณ นครเวนิส สาธารณรัฐอิตาลี


โดยศิลปินไทย พิเชษฐ กลั่นชื่น เผยว่า “งานของผมจะอยู่ฝั่งศิลปะการแสดง ผมทำหน้าที่หลักๆ คือการสร้างผลงานศิลปะในรูปแบบละคร โดยใช้ศิลปะการแสดงแบบประเพณีคือนาฏศิลป์ไทย ใช้คำง่ายๆ คือวัตถุดิบในการสร้างผลงานร่วมสมัย ในประเด็นของสถานการณ์เหตุการณ์หรือการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างในสังคมปัจจุบัน ที่จะสื่อสารกับคนที่อยู่ในปัจจุบัน โดยหามิติของความหมายหรือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตข้างหน้า เราจะขับเคลื่อนสังคมและชีวิตของเราไปข้างหน้าได้อย่างไร งานศิลปะแบบร่วมสมัยจะถูกพูดถึงเรื่องราวที่มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น พูดถึงชนกลุ่มน้อย LGBTQ หรือว่าจะเป็นเรื่องโรงงาน เรื่องแรงงาน แม้กระทั่งเรื่องของมอเตอร์ไซค์วิน เพราะฉะนั้นมันจะเปิดกว้างในการที่จะสื่อสารกับคนในสังคมได้

ส่วนตัวของผมภาพยนตร์ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ตีความว่าคือการมองหาหรือการตั้งคำถามกับตัวจิตวิญญาณ จิตวิญญาณคืออารมณ์ความรู้สึกของความเป็นมนุษย์ ศิลปินมารีน่าพยายามที่จะเดินทางหา และทำความเข้าใจกับจิตวิญญาณของความเป็นมนุษย์ของตัวเองให้ได้ และเพื่อยุติขบวนการฟุ้งซ่าน เผชิญหน้ากับจิตวิญญาณนี้ให้ได้ ตัวละครที่น่าสนใจมี 3 ตัวคือ ตัวละครที่ 1 คือศิลปินมารีน่า ตัวที่ 2 Monkey king ตัวที่ 3 คือลิงตัวเล็กๆ ที่พามารีน่าไปแต่ละสถานที่ ผมตีความว่าทั้ง 3 ตัวละครนี้คือตัวศิลปินมารีน่าเอง แต่เป็นร่างกาย ส่วนตัวผมมันคือจิตวิญญาณความรู้สึกในฝั่งดาร์ก และตัวเด็กผู้หญิงคือจิตวิญญาณของมารีน่าในวัยเด็ก ที่ชักชวนมารีน่าไปแต่ละสถานที่และไปเผชิญหน้ากับ Monkey king สภาวะของอารมณ์รุนแรงที่สุด บทสนทนาทั้งหมดคือบทสนทนาของมารีน่าเอง และไปจบลงในซีนสุดท้ายที่วัดโพธิ์ ซึ่งได้พบกับท่านเจ้าคุณ และท่านเจ้าคุณก็อธิบายให้ฟังถึงเรื่องพุทธศาสนา เรื่องการเข้าสมาธิ เรื่องการถามตอบกับตัวเอง และมารีน่าก็เข้าใจสิ่งเหล่านี้ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้”


The Spirits of Maritime Crossing เป็นการเดินทางจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเวนิส ผ่านประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและการพลัดถิ่นในมุมมองของผู้อยู่ห่างไกลทั้งกายและใจจากบ้านเกิดของตน ศิลปินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความคล้ายคลึงกันหลายประการ ในขณะที่ก็ยังมีความแตกต่างในด้านชาติพันธุ์ ศาสนา และภาษาด้วย ซึ่งบางครั้งสามารถสร้างความรู้สึกผิดแปลกในหมู่พวกเขาได้ มรดกของประเทศเหล่านี้ปรากฏชัดในสิ่งที่เรียกว่า 'วัฒนธรรมลูกผสม' ซึ่งได้แก่ ผู้ลี้ภัย ผู้อพยพ และคนไร้สัญชาติ


สำหรับรายชื่อ 15 ศิลปินจากภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่ศิลปินชื่อดังไปจนถึงศิลปินหน้าใหม่ที่มีพรสวรรค์ ที่ร่วมแสดงงานในครั้งนี้ นำโดย มารีน่า อบราโมวิช (เซอร์เบีย สหรัฐอเมริกา) พิเชษฐ กลั่นชื่น (ไทย) ปรียากีธา ดีอา (สิงคโปร์) จิตติ เกษมกิจวัฒนา (ไทย) นักรบ มูลมานัส (ไทย) จอมเปท คุสวิดานันโต (อินโดนีเซีย) บุญโปน โพทิสาน (ลาว) อัลวิน รีอามิลโล (ฟิลิปปินส์) คไว สัมนาง (กัมพูชา) โม สัท (สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า-เนเธอร์แลนด์) จักกาย ศิริบุตร (ไทย) เจือง กง ตึง (เวียดนาม) นที อุตฤทธิ์ (ไทย) กวิตา วัฒนะชยังกูร (ไทย) และ หยี่ อิ-ลาน (มาเลเซีย)

นิทรรศการ The Spirits of Maritime Crossing : วิญญาณข้ามมหาสมุทร ในมหกรรมศิลปะนานาชาติ เวนิส เบียนนาเล่ ครั้งที่ 60 ได้รับการสนับสนุนจาก มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญจากภาครัฐและเอกชน ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) บริษัท วัน แบงค็อก โฮลดิ้งส์ จำกัด (One Bangkok) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท กลุ่มเซนทรัล จำกัด (Central Group) มูลนิธิ 100 ต้นสน Fraser & Neave Holdings Bhd (F&NHB) and Fraser and Neave, Limited (F&NL) Saigon Beer-Alcohol-Beverage Corporation (SABECO) บริษัท ช้างอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด บริษัท แสงโสม จำกัด บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ถัง คอนเทมโพรารี่ อาร์ต จำกัด Generali Life Assurance (Thailand) Plc Richard Koh Fine Art Nova Contemporary Warin Lab Silver lens Gallery Flowers Gallery บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน) และเครือข่ายพันธมิตร ทุกภาคส่วน

ติดตามข่าวสาร และตารางกิจกรรมของเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ (Bangkok Art Biennale) เพิ่มเติมได้ทาง Facebook และ Instagram : Bkkartbiennale

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages