สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ชูประเด็นด้านเทคโนโลยี และบริการเดลิเวอรี่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลใน งาน THAIFEX – Anuga Asia 2024 - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Tuesday, May 28, 2024

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ชูประเด็นด้านเทคโนโลยี และบริการเดลิเวอรี่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลใน งาน THAIFEX – Anuga Asia 2024

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ชูประเด็นด้านเทคโนโลยี
และบริการเดลิเวอรี่ในอุตสาหกรรมอาหารทะเลใน
งาน THAIFEX – Anuga Asia 2024

กรุงเทพฯ 28 พฤษภาคม 2567 – สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้เปิดตัวรายงาน ‘เทรนด์ผู้บริโภคอาหารทะเลยอดนิยม’ ประจำปี ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ Oceans of Change นำเสนอภาพรวมทิศทางของเทรนด์ในแต่ละภาคส่วน พร้อมเน้นย้ำถึงทัศนคติของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป และการพัฒนาอุตสาหกรรม จากข้อมูลเฉพาะของประเทศต่าง ๆ ถึง 17 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ณ งาน THAIFEX – Anuga Asia 2024 นอกจากนี้ยังรายงานผลการดำเนินงานที่เติบโตขึ้น 10% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2566 รวมมูลค่า 3.6 พันล้านบาท ของอาหารทะเลนอร์เวย์โดยรวมที่ส่งออกมายังประเทศไทย


นางอัสตริด เอมีเลีย เฮลเล เอกอัครราชทูตนอร์เวย์ประจำประเทศไทย, ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC), นางฐิติพร หลาวประเสริฐ ผู้ตรวจราชการกรม กรมประมง และ นางสาวโอซฮิลด์ นัคเค่น ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) คนใหม่


ผู้ส่งออกอาหารทะเลจากนอร์เวย์ 21 ราย ได้จัดแสดงอาหารทะเลพรีเมียมหลากหลายรายการ ในช่วงวันที่ 28 พฤษภาคม – 31 พฤษภาคม (วันเจรจาธุรกิจ) และ 1 มิถุนายน (วันจำหน่ายปลีก) ที่ Norwegian Seafood Pavilion ภายในงาน THAIFEX – Anuga Asia 2024 ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 3 ทางเข้าที่ 1 บูธ L29 - M29 อิมแพค เมืองทองธานี นอกจากนี้ยังมีการสัมมนาอาหารทะเลในหัวข้อ การพัฒนาตลาดปลาแซลมอนนอร์เวย์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรื่องราวความสำเร็จของนอร์วีเจียนแซลมอนและนอร์วีเจียนซาบะ การบริโภคและการแปรรูปในประเทศไทย โดยจัดขึ้นในวันที่ 29 พฤษภาคม ระหว่างเวลา 14.00 – 16.00 น.

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ได้ถือโอกาสแนะนำผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คนใหม่ นางสาวโอซฮิลด์ นัคเค่น ซึ่งจะมาปฏิบัติหน้าที่ต่อจาก ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท โดยนางสาวโอซฮิลด์ ได้ทำงานร่วมกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) ในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายการสื่อสาร และเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนความสำเร็จของอาหารทะเลนอร์เวย์ในตลาดประเทศจีนในตำแหน่งผู้อำนวยการตั้งแต่ปี 2549 – 2554 และเธอยังมีความรู้ที่กว้างขวางเกี่ยวกับอุตสาหกรรมอาหารทะเลจากการทำงานเป็นผู้จัดการฝ่ายการเพิ่มมูลค่าสินค้า ที่ Lerøy Seafood AS ซึ่งเป็นบริษัทอาหารทะเลชั้นนำของโลก


ดร. อัสบีเยิร์น วาร์วิค เรอร์ทเว็ท ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) 
กล่าวว่า “ในปีนี้ตลาดไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราการบริโภคนอกบ้านยังคงสูง เราได้เห็นการเติบโตของการซื้อของออนไลน์ และการเดลิเวอรี่ ที่สูงขึ้นมาก ผู้บริโภคมีการสั่งอาหารทุกประเภทรวมถึงอาหารทะเล ให้จัดส่งถึงหน้าประตูบ้าน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เนื่องจากประชากรในเมืองจำนวนมากใช้ชีวิตโดยพึ่งพาช่องทางเดลิเวอรี่ และมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าเข้าบ้านน้อยลง ผู้คนเลือกที่จะจับจ่ายเฉพาะในเวลาที่ต้องการ และบางครั้งมีการสั่งซื้อหลายรายการในหนึ่งวัน ในฐานะหนึ่งในแหล่งข้อมูลเชิงลึกด้านตลาดชั้นนำของอุตสาหกรรมอาหารทะเลระดับโลก NSC ได้เข้าไปลงทุนใน 30 ประเทศ มีสำนักงาน 15 แห่ง พร้อมทั้งมีการติดตามประจำปีที่ติดตามผู้บริโภคมากกว่า 60,000 รายทั่วโลกเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงลึกและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารทะเล


“รายงาน ‘เทรนด์ผู้บริโภคอาหารทะเลยอดนิยม’ ในปีนี้แสดงให้เห็นถึงการให้ความสนใจในเรื่องของความโปร่งใสของห่วงโซ่อุปทาน และความต้องการโปรตีนที่เข้าถึงง่ายและมีคุณค่าทางโภชนาการอย่างต่อเนื่อง การมีบทบาทสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานและการติดตามที่ยั่งยืน การนำเทคโนโลยี อาทิ QR Code มาใช้มากขึ้น ซึ่งช่วยให้ผู้ค้าปลีกและผู้ประกอบกิจการอาหารสามารถให้ความรู้แก่ผู้บริโภค ข้อมูลผลิตภัณฑ์ ความยั่งยืน และที่มาของอาหารทะเลได้ ตราสัญลักษณ์ Seafood from Norway ของเรา เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าช่วยส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาหารทะเลนอร์เวย์ในประเทศไทยได้เป็นอย่างมาก โดยในปี 2566 ผู้บริโภคในกรุงเทพฯ กว่า 81% สามารถจดจำสัญลักษณ์ Seafood from Norway ได้ เพิ่มขึ้น 38% จากปีที่ผ่านมา และผู้ซื้อปลาแซลมอนในกรุงเทพฯ มากกว่า 50% สามารถระบุได้อย่างถูกต้องว่าสินค้านั้นมาจากนอร์เวย์” ดร. อัสบีเยิร์น กล่าวเสริม

สำหรับเดือนมกราคมถึงเมษายน 2567 นอร์เวย์ส่งออกนอร์วีเจียนแซลมอนและฟยอร์ดเทราต์สดจำนวน 7,243 ตันมายังประเทศไทย โดยมีปริมาณเพิ่มขึ้น 7% และมีมูลค่าเพิ่มขึ้น 12% ทั้งนี้ อาหารทะเลนอร์เวย์โดยรวมมีการเติบโต 10% มีมูลค่าอยู่ที่ 3.6 พันล้านบาท

                                                     ###

เกี่ยวกับสภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์

สภาอุตสาหกรรมอาหารทะเลนอร์เวย์ (NSC) เป็นบริษัทมหาชนภายใต้กระทรวงการค้า อุตสาหกรรม และการประมง สภาฯ ทำงานร่วมกับอุตสาหกรรมการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของนอร์เวย์ เพื่อพัฒนาและขยายตลาดอาหารทะเลส่งออกจากนอร์เวย์ เป็นตัวแทนผู้ส่งออกอาหารทะเลและอุตสาหกรรมอาหารทะเลของประเทศนอร์เวย์ “Seafood from Norway” เป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิดของอาหารทะเลที่จับได้หรือเพาะเลี้ยงในแหล่งน้ำทะเลที่เย็นและใสสะอาดของประเทศนอร์เวย์

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages