องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย จัดงานครบรอบ 70 ปี ก้าวไปด้วยกัน เพื่ออนาคตเด็กทุกคน โดยได้รับเกียรติจาก คุณอานันท์ ปันยารชุน ทูตสันถวไมตรี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวเปิดงาน พร้อมรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาล องค์กรที่ให้การสนับสนุน หน่วยงานภาคประชาสังคม ผู้นำเหล่าเยาวชน รวมทั้งFriends of UNICEF พีช-พชร จิราธิวัฒน์ และ หนูดี-วนิษา เรซ
นายอานันท์ ปันยารชุน ทูตสันถวไมตรี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “งานฉลองครบรอบ 70 ปีของยูนิเซฟ ประเทศไทยในวันนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จที่ยูนิเซฟได้ดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในประเทศตระหนักถึงสิทธิของเด็กๆ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ยูนิเซฟได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน ในการร่วมพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กซึ่งถือเป็นอนาคตของประเทศในรุ่นต่อๆ ไป ในโอกาสนี้ ยูนิเซฟอยากเชิญชวนให้ทุกท่านร่วมเดินหน้าพร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาเด็กผ่านบทบาทและหน้าที่ของตัวเองไม่ว่าจะในฐานะบุคคลหนึ่ง ผู้นำองค์กร ผู้นำกลุ่มเยาวชน ผู้มีอิทธิพลทางโลกโซเชียล หรือสื่อมวลชน พร้อมร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้เด็กๆ ทุกคนเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ และไม่ให้มีเด็กคนใดต้องถูกทอดทิ้ง”
เพื่อฉลองโอกาสพิเศษครบรอบ 70 ปี องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย ยังได้สร้างสรรค์แคมเปญ “อาร์ต ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์” (Art for The Future) คุณ…เปลี่ยนอนาคตเด็กให้ดีขึ้นได้” เมื่อช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมาโดยได้ร่วมมือกับ 16 ศิลปินชาวไทย รังสรรค์ผลงานศิลปะในรูปแบบต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ เพื่อสะท้อนถึงปัญหาและความท้าทายที่เด็กไทยพบเจอในปัจจุบันและได้นำมาจัดแสดงที่งานครบรอบ 70 ปีในครั้งนี้โดยมีกลุ่มเซ็นทรัลร่วมเป็นส่วนหนึ่งผ่านการสนับสนุนพื้นที่จัดงาน นอกจากนี้ ยูนิเซฟยังเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมรณรงค์เพื่อสิทธิเด็กในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงสนทนาภายในงานมีผู้สนับสนุนหลักและกลุ่มอินฟลูเอนเซอร์ ประกอบด้วย ที่อัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกส พันธมิตรภาคเอกชน Friends of UNICEF พีช-พชร จิราธิวัฒน์ และหนูดี-วนิษา เรซ รวมทั้งตัวแทนเยาวชนและศิลปินที่ร่วมโครงการฯ มาร่วมบอกเล่าประสบการณ์ที่ได้นำเอาทักษะ ความรู้ และความชำนาญหลากหลายด้านไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เด็กๆ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้สังคม
นายโธมัส ดาวิน ผู้แทนองค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย กล่าวว่า “ยูนิเซฟภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จครั้งสำคัญเพื่อเด็กๆ ในตลอด 70 ปีที่ผ่านมา เราขอขอบคุณคนไทยทุกคนในความเอื้อเฟื้อและความร่วมมือที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับคุณภาพชีวิตของไปด้วยกัน ในขณะที่เราฉลองครบรอบ 70 ปีแห่งพัฒนาการและความสำเร็จเพื่อสิทธิของเด็กในประเทศไทยในวันนี้ ภารกิจและแผนงานต่างๆ ยังคงดำเนินต่อไป การต่อสู้เพื่อเด็กนั้นยังไม่จบ เด็กอีกจำนวนมากยังไม่ได้รับโอกาสที่เท่าเทียมเพื่อเติบโตอย่างเต็มศักยภาพไปมีอนาคตที่สดใส การเดินทางเพื่อเด็กยังอีกยาวไกล ยูนิเซฟไม่สามารถก้าวไปข้างหน้าได้เพียงลำพัง การสนับสนุนจากทุกท่านจะเป็นกำลังสำคัญที่จะผลักดันให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสที่เท่าเทียมและเติบโตอย่างเต็มศักยภาพ มาร่วมกันบนเส้นทางเพื่อแห่งการเปลี่ยนแปลงและเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหาจากนี้ต่อไป”
ทั้งนี้ ผลงานศิลปะของ 16 ศิลปินในแคมเปญ “อาร์ต ฟอร์ เดอะ ฟิวเจอร์” (Art for The Future) คุณ…เปลี่ยนอนาคตเด็กให้ดีขึ้นได้ ตั้งอยู่ทั่วกรุงเทพฯ อาทิ ย่านเจริญกรุง, พระนครบาร์, เยโล่ เฮาส์, วูฟแพ็ค, แอร์พอร์ต เรลลิงค์ มักกะสัน ซึ่งผลงานศิลปะแต่ละจุดมีนัยยะสะท้อนถึงปัญหาของเด็กๆ อย่างลึกซึ้ง อาทิ ปัญหาการล่วงละเมิดในเด็ก, ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา, ปัญหาในวัยรุ่น, ปัญหาการไม่เข้าถึงปัจจัยสำหรับพัฒนาการในเด็กเล็ก ซึ่งศิลปินที่ร่วมแสดงผลงานในครั้งนี้ ประกอบด้วย คุณสยาม เนียมนำ, ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา, ชนารดี ฉัตรกุล ณ อยุธยา, พิชฐญาณ์ โอสถเจริญผล, ดริสา ริเอธี การพจน์, น้ำน้อย-ปรียศรี พรหมจินดา, เหนือ- จักรกฤษณ์ อนันตกุล, ชาญณรงค์ ขลุกเอียด, ศุภิสรา เปรมกมลมาศ , ทศพร เหมือนสุวรรณ, Jayoto อุทิศ โพธิ์คำ, ปกรณ์ ธนานนท์, ปรัชญพร วรนันท์, พีรเวทย์ กระแสโสม, ไพโรจน์ พิเชฐเมธากุล, พิเชฐ รุจิวรารัตน์ สามารถเข้าไปดูแผนที่ผลงานศิลปะได้ที่ www.unicef.or.th/70years
นอกจากการรณรงค์ปัญหาผ่านผลงานศิลปะแล้ว ยูนิเซฟยังจัดทำภาพยนตร์แอนิเมชั่นชุดพิเศษ 4 เรื่อง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ที่เด็กในประเทศไทยกำลังเผชิญอยู่ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ได้แก่ 1) “รักใสๆ หัวใจเปียกฝน” การตั้งท้องก่อนวัยอันควรของวัยรุ่น https://www.unicef.or.th/70years/art-for-the-future/th/the-tale-of-two-teenagers 2) “ไม้แขวนตามหลอน” นำเสนอความรุนแรงในเด็กจากคนใกล้ตัว https://www.unicef.or.th/70years/art-for-the-future/th/the-hangar-monster
3) “ประตูที่ปิดตาย” สะท้อนปัญหาการศึกษาของเด็กชายขอบ https://www.unicef.or.th/70years/art-for-the-future/th/no-entry และ 4) “ทางแยก” ความยากจนของเด็กไทยhttps://www.unicef.or.th/70years/art-for-the-future/th/pathway
No comments:
Post a Comment