นางสาวปนัสยา ทองจินดาวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามเจมส์ กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ในปี 2561 สยามเจมส์ กรุ๊ป ได้ริเริ่มและดำเนินโครงการสืบสานงานเงินนั้น เราได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ประกอบการและช่างฝีมือเครื่องเงินจากทั่วประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมเสนอผลงานกับโครงการถึง 33 ราย และมีผู้ผ่านการคัดเลือกจากผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมกิจกรรม อบรมพัฒนาองค์ความรู้ด้านการออกแบบสินค้า และการตลาดในโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 12 ราย และได้สร้างสรรค์ผลงานจนกลายเป็นเครื่องเงินไทยแบบร่วมสมัย มีอัตลักษณ์โดดเด่น สยามเจมส์ กรุ๊ป รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนช่วยสังคมในการ สืบสานศิลปวัฒนธรรมไทยของชุมชนท้องถิ่น และเผยแพร่เอกลักษณ์เครื่องประดับไทยสู่สายตาชาวโลก ด้วยการช่วยต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศ และสามารถกระจายรายได้สู่ชุมชน ตามนโยบายของรัฐบาลด้านการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน Local to Global”
นายฐวัฒน์ สมมะโนพัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด สยามเจมส์ กรุ๊ป กล่าวเพิ่มเติมว่า “การจัดแสดงผลงานของโครงการสืบสานงานเงินทั้ง 12 คอลเลคชั่นนี้ สะท้อนถึงอัตลักษณ์เครื่องเงินในวิถีพื้นเมืองแต่ละภาคได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น งานดุนลายภาคเหนือ การถักลายแบบศิลปะสุโขทัย งาน ตะเกาภาคอีสาน งานเครื่องถมภาคใต้ ซึ่งโชว์ถึงศักยภาพของผู้ประกอบและช่างฝีมือในการสร้างสรรค์ผลงานด้วยเทคนิคอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ อาทิ งานรมดำ การลงยา การใช้พลอย และคริสตัล มาผสมผสานกับเครื่องเงิน พร้อมใส่แนวคิดการออกแบบบ่งบอกความเป็นไทย จนได้ชิ้นงานที่สวยงามร่วมสมัย และสามารถจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ โดยทั้ง 12 คอลเลคชั่น แบ่งออกเป็น เครื่องประดับ 8 คอลเลคชั่น และสินค้าไลฟ์สไตล์ 4 คอลเลคชั่น ได้แก่ ชุดอุปกรณ์โต๊ะอาหาร กระดิ่งประดับบ้าน กระเป๋า และกล่องเก็บเครื่องประดับ”
สำหรับผลงานครื่องเงินทั้ง 12 คอลเลคชั่น จะตกเป็นลิขสิทธิ์ของสยามเจมส์ กรุ๊ป โดยผู้ประกอบการจะได้รับสิทธิ์เซ็นสัญญาเพื่อผลิตและจำหน่ายตามแบบที่พัฒนากับทางสยามเจมส์ กรุ๊ปต่อไป ผู้ที่สนใจสามารถเข้าชมผลงานจากฝีมือผู้ประกอบการและช่างฝีมือเครื่องเงินทั้ง 12 คอลเลคชั่น ในโครงการสืบสานงานเงิน ผ่านทาง Facebook : สืบสานงานเงิน
No comments:
Post a Comment