ด้าน ดร.กัญญ์ชิสา ทุมมาพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดขอนชะโงกฯ กล่าวว่า การแข่งขันครั้งนี้ ถือเป็นการขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ผ่านเรียนรู้วิธีการออกแบบหุ่นยนต์และอากาศยาน ด้วยการประยุกต์ทักษะด้านกลศาสตร์ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ และคณิตศาสตร์ ร่วมกับการออกแบบความคิดสร้างสรรค์ พร้อมเปิดโอกาสให้นักเรียนทั่วประเทศแสดงผลงานในการแข่งขันหุ่นยนต์และอากาศยาน โดยใช้กติกาการตัดสินระดับสากล เพื่อต่อยอดการแข่งขันในระดับสูงหรือระดับนานาชาติ สอดคล้องกับนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ ในการจัดการศึกษา รูปแบบ Active Learning และ STEM ให้เด็กๆ ได้เรียนดี มีความสุข อย่างยั่งยืน
สำหรับ การจัดการแข่งขันในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการแข่งขัน 263 ทีม กว่า 1,000 คน จาก 74 โรงเรียน ใน 30 จังหวัดแต่ละภูมิภาคของประเทศ โดยได้รับถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 6 ประเภท ได้แก่ 1.) หุ่นยนต์บังคับมือแบบขาเดินภารกิจขนส่งน้ำนมดิบรีโมทแบบสาย ซีพี-เมจิ 2.) หุ่นยนต์บังคับมือแบบขาเดินภารกิจขนส่งน้ำนมดิบรีโมทแบบสาย รวมทุกระดับชั้น 3.) หุ่นยนต์บังคับมือเคลื่อนที่ด้วยล้อภารกิจขนส่งนมรีโมทแบบสาย 4.) หุ่นยนต์ต่อสู้แบบขา 5.) หุ่นยนต์อัตโนมัติขนถ่ายหินอ่อน 6.) โครงงานหุ่นยนต์ “ไฟฟรีจากฟ้า” Solar Energy และรับถ้วยเกียรติยศจากผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี 4 ประเภท ได้แก่ 1.) หุ่นยนต์บังคับมือเตะจุดโทษ 2.) หุ่นยนต์ซูโม่หนึ่งพันกรัมควบคุมด้วยรีโมท 3.) หุ่นยนต์ระบบอัตโนมัติ 4.) อากาศยานไร้คนขับทำภารกิจ ./
No comments:
Post a Comment