อิปซอสส์ เดินหน้าตอกย้ำจุดยืน – ผู้เปลี่ยนเกม (Game Changers) ปล่อยข้อมูลวิจัยชุด “ชิมช้อปใช้” ที่เจาะลึกความพึงพอใจ พฤติกรรมการจับจ่ายและการตอบรับ เพื่อประโยชน์ต่อนักวางแผนที่เกี่ยวข้อง - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Saturday, November 30, 2019

อิปซอสส์ เดินหน้าตอกย้ำจุดยืน – ผู้เปลี่ยนเกม (Game Changers) ปล่อยข้อมูลวิจัยชุด “ชิมช้อปใช้” ที่เจาะลึกความพึงพอใจ พฤติกรรมการจับจ่ายและการตอบรับ เพื่อประโยชน์ต่อนักวางแผนที่เกี่ยวข้อง



หมวดที่ตอบรับสูงสุด ประชาชนนิยมช้อป ตามด้วย ชิม และ ใช้ที่แทบไม่ใช้ ในสัดส่วน 61 : 35 : 4 ตามลำดับ และประชาชนส่วนใหญ่พอใจ เข้าใจโครงการ และ อยากให้รัฐบาลสนับ สนุนต่อ


ณ เอ็มไพร์ ทาวเวอร์ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 บริษัท อิปซอสส์ (ประเทศไทย) จำกัด (Ipsos (Thailand) Co.,Ltd.) ผู้นำระดับโลกด้านการวิจัยตลาดและสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภค ผู้ให้บริการงานวิจัยรูปแบบ Customized Research ซึ่งมีโซลูชั่นครบวงจร แบบ One Stop Service ที่ได้พัฒนาโมเดลการวิจัยพร้อมใช้มากที่สุดถึง 75 โซลูชั่นสำหรับตลาดโลก และ 9 โซลูชั่นสำหรับตลาดวิจัยไทย นำโดย นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ (Usana Chantarklum) กรรมการผู้จัดการ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึง “บริการพิเศษของอิปซอสส์ พร้อมเผยผลวิจัยชุด – ชิมช้อปใช้ ที่เจาะลึกถึงพฤติกรรมการใช้จ่ายและความพึงพอใจ

นางสาว อุษณา จันทร์กล่ำ เปิดเผยว่า “อิปซอสส์ ประเทศไทย ได้เข้ามาดำเนินธุรกิจตั้งแต่ปี 2538 (1995 ) โดยเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่องนับเป็นเวลากว่า 24 ปี ให้บริการใน 10 อุตสาหกรรมหลัก ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าอุปโภค-บริโภค (Consumer Packed Goods) กลุ่มเทคโนโลยีและการสื่อสาร (Telecommunications & Technology) กลุ่มธนาคารและบริการด้านการเงิน (Banking & Finance) กลุ่มยานยนตร์ (Automotive) กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) กลุ่มธุรกิจอสังหาฯ (Real Estate) กลุ่มสุขภาพ (Healthcare) กลุ่มท่องเที่ยว (Travel & Tourism) กลุ่มโรงแรม (Hotel) และ กลุ่มอีคอมเมิร์ซ (eCommerce) โดยบริษัทได้รับความเชื่อถือและความไว้วางใจจากลูกค้าแบรนด์ใหญ่รายสำคัญในตลาดประเทศไทยมากมาย

ด้วยความเชื่อที่ว่า ไม่มีสูตรสำเร็จสำหรับงานวิจัยรูปแบบเดียวที่ใช้ได้กับลูกค้าทุกรายเพราะต่างก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน สำหรับตลาดประเทศไทย บริษัทได้มีการพัฒนาโมเดลโซลูชั่นขึ้นเป็นพิเศษถึง 9 โซลูชั่น กล่าวคือ Market Strategy & Understanding / Innovation / Customer Experience / Mystery Shopping / Brand Health Tracking / Qualitative Research (UU) / Creative Excellence / Social Intelligence Analytics และ Observer

ทั้งนี้ อิปซอสส์ ถือเป็นเพียงไม่กี่บริษัทในวงการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 20252

ภาพรวมโครงการ “ชิมช้อปใช้” กระแสตอบรับดี กลุ่มสูงวัยอายุ 50 – 59 ปี เห็นว่านโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย ส่วนกลุ่มหนุ่มสาว ที่มีอายุ 18 – 29 ปี มองว่าเป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาที่จ่ายให้กับประเทศ 

ปรากฏการณ์ “ชิมช้อปใช้” ที่มีผู้ลงทะเบียน 10 ล้านคน มีเงินใน “เป๋าตัง” คนละ 1,000 บาท นับเป็นการส่งผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้ผลทันตาทันใจรัฐบาล การใช้เงินกระฉูดตามเป้าหมายในระยะเวลาสั้นๆ ทั้งการ “ชิม” “ช้อป” และ “ใช้”

สำหรับผลสำรวจนโยบาย “ชิมช้อปใช้” จากอิปซอสส์ ได้มีการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศเป็นจำนวน 500 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ถึง 60 ปีขึ้นไป โดยผลวิจัยได้มีการศึกษาแนวทางซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การมีส่วนร่วม ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการออกมาตรการ ตลอดจนพฤติกรรมการใช้จ่ายและความคิดเห็นต่อโครงการ “ชิมช้อปใช้” นี้

ภาพรวมนับว่า โครงการ “ชิมช้อปใช้” ได้กระแสการตอบรับที่ดีมาก จากการสำรวจพบว่า สัดส่วนของผู้ที่เข้าร่วมโครงการเมื่อเทียบกับสถิติคนที่ไม่ร่วมแล้ว อยู่ในอัตรา 59 : 41 โดยกว่า 97% ของคนลงทะ เบียนรับสิทธิ มีความรู้ความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ และอีก 95% ของพวกเขายังยินดีที่จะแนะนำให้ ครอบครัว ญาติ และเพื่อนฝูงร่วมรับเงินสนับสนุนส่วนนี้จากรัฐบาลอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อศึกษาถึงเหตุผลที่บางคนเลือกที่จะเข้าร่วมโครงการและไม่เข้าร่วมแล้ว สามารถสรุปเป็นประเด็นสาระสำคัญ ได้ดังนี้

62% ของกลุ่มคนที่เข้าร่วมนโยบายและลงทะเบียนรับสิทธิ์ “ชิมช้อปใช้” มีความคิดที่ว่า นโยบายนี้เป็นนโยบายที่ดีในการกระตุ้นการใช้จ่าย ในขณะที่อีก 44 % เข้าร่วมเพราะคิดว่าเงินจำนวนนี้มาจากภาษีของพวกตน นอกจากนั้นอีก 41% มองว่าเป็นสิทธิ์ที่พวกเขาควรจะได้รับจากรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม หากแบ่งตามกลุ่มอายุจะเห็นได้ชัดว่า กลุ่มผู้สูงวัย และวัยทำงานมีความคิดเห็นต่อเหตุผลที่ลงทะเบียนในการรับเงินจากรัฐบาลที่แตกต่างกัน โดย 73% ของคนที่มีอายุระหว่าง 50 – 59 ปี มองว่า “ชิมช้อปใช้” เป็นนโยบายที่ดีซึ่งช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย แต่กลุ่มผู้รับสิทธิ์ที่มีอายุ 18 – 29 ปี มองว่านี่เป็นสิ่งที่เขาควรจะได้รับ เนื่องจากเงินสนับสนุนจำนวนนี้เป็นเงินส่วนหนึ่งที่มาจากภาษีที่พวกเขาจ่ายให้กับประเทศ

ในทางกลับกัน ผู้ที่ไม่ได้ลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ให้เหตุผลที่ตัดสินใจไม่เข้าร่วม คือ ขั้นตอนเยอะ และมองว่าเป็นเรื่องยาก / กดรับสิทธิ์ไม่ทัน / ระบบไม่เสถียร / อื่นๆ / ไม่เข้าใจการใช้แอป เป๋าตัง – G Wallet / ไม่สามารถยืนยันตัวตนได้ / ไม่มีสมาร์ทโฟน / ไม่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ ในอัตรา 44%, 42%, 22%, 20%, 13%, 7%, 2%, 1% ตามลำดับ

นอกจากนี้ ประเด็นสำคัญด้านความเชื่อของประชาชนในหัวข้อที่ว่า โครงการ “ชิมช้อปใช้” สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและกระจายรายได้ไปสู่ธุรกิจขนาดเล็กได้หรือไม่นั้น ผลปรากฏว่า 72% เชื่อว่า เศรษฐกิจ และร้านค้าขนาดเล็กได้รับผลประโยชน์ ในขณะที่มีเพียง 28% เท่านั้นที่คิดว่านโยบายนี้ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจและกระจายรายได้สู่ร้านค้าขนาดเล็กได้ โดยกลุ่มคน 72% คิดว่ารายได้สามารถกระจายไปสู่ร้านค้าขนาดเล็กได้นั้น เนื่องจาก 71% ของพวกเขามีการวางแผนและมีความตั้งใจที่จะไปใช้จ่ายกับร้านค้าขนาดเล็กหรือร้านค้ารายย่อยเท่านั้น นอกจากนั้นอีก 56% ยังมองว่าการรณรงค์ให้ใช้จ่ายนับเป็นตัวช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดี สำหรับอีก 28% ของกลุ่มคนที่มีแนวคิดเห็นตรงกันข้าม 63% ของพวกเขายังฝังใจว่าร้านค้าขนาดใหญ่เท่านั้นที่จะได้รับประโยชน์ และอีก 49% ไม่เชื่อว่ามาตรการนี้จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงในระยะยาว

เมื่อศึกษาถึงหมวดของสินค้าหรือบริการ ตลอดจนประเภทร้านค้าที่ผู้รับสิทธิ์ส่วนมากเลือกที่จะใช้จ่ายด้วยนั้น ปรากฏว่า หมวด “ช้อป” ถูกเลือกในสัดส่วนที่สูงสุด ตามด้วย ชิม และ ใช้ โดยสัดส่วนระหว่าง ชิม : ช้อป : ใช้ อยู่ในอัตรา 35 : 61 : 4 โดยรูปแบบร้านที่ผู้มีสิทธิ์เลือกเป็นจุดซื้อนั้น สามารถเรียงลำดับได้ ดังนี้

    47% เป็น ร้านธงฟ้า
    39% ร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ ท็อป มาร์เก็ต เทสโก้ โลตัส
    36% ร้านค้า OTOP ท้องถิ่น
    23% ร้านค้าขนาดเล็ก เช่น แฟมิลี่ มาร์ท
    14% ร้านค้าขนาดกลาง เช่น บลูช็อป
    11% ห้างสรรพสินค้า เช่น เซ็นทรัล สยามพารากอน
    10% ผู้ค้ารายใหญ่ เช่น แม็คโคร

สำหรับคำถามที่ว่าร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการมีจำนวนเพียงพอหรือไม่ สัดส่วนความคิดเห็นของผู้เข้า ร่วมโครงการระหว่าง เพียงพอ กับไม่เพียงพอ มีสัดส่วนเท่าๆกันคือ 50 : 50 โดยกลุ่มคนที่ระบุว่าร้านค้าที่ลงทะเบียนกับรัฐบาลมีจำนวนไม่มากพอนั้น มองว่าการหาร้าน “ถุงเงิน” เป็นเรื่องยาก

สถิติถึง 70% เห็นว่า จำนวนวงเงิน 1,000.- นี้เหมาะสม และ 75% มีการใช้เงินทั้งพันบาทหมดในครั้งเดียว และ มีจำนวนไม่น้อยที่จบโครงการแล้ว ยังใช้วงเงินไม่หมด


ในส่วนของพฤติกรรมการใช้จ่าย ได้ถามถึงวงเงินที่ได้รับมาจำนวน 1,000.- นั้น มีความเหมาะสมหรือ ไม่ ปรากฏว่า 70% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความเห็นว่า 1,000.- บาทเป็นวงเงินที่มากพอ มีเพียง 30% เท่านั้นที่เห็นว่า รัฐบาลควรเพิ่มวงเงิน โดยมีการถามต่อถึงการใช้จ่ายเงินจำนวนนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างกว่า 75% มีการใช้เงิน 1,000.- บาทในครั้งเดียว อีก 25% ทยอยจ่ายหลายครั้ง และมีคนจำนวนไม่น้อยที่หลังจากจบโครงการแล้ว ใช้จ่ายน้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับมา โดยสามารถจำแนกได้ดังนี้
    22% ใช้จ่าย น้อยกว่า 500
    15% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 500 – 999.- บาท
    38% ใช้จ่ายเป็นจำนวน 1,000. - บาท
    26% ใช้จ่าย มากกว่า 1,000. –

สำหรับเหตุผลที่อาจจะสามารถอธิบายได้ว่าทำไมบางคนถึงมีการใช้จ่ายผ่านแอป “เป๋าตัง” น้อยกว่าจำนวนเงินที่ได้รับ พบว่า 21% เป็นผลมาจากการที่ผู้ใช้พบปัญหาระหว่างการชำระค่าสินค้าและบริการผ่านทางตัวแอปพลิเคชั่น “เป๋าตัง” ซึ่ง 16% ของพวกเขาต้องสำรองเงินจ่ายค่าสินค้าและบริการเอง ส่วนอีก 5% ตัดสินใจยกเลิกการซื้อโดยสิ้นเชิง

หนึ่งในความเป็นไปได้คือการที่ผู้ใช้เกือบครึ่งยังไม่คุ้นชินกับการใช้เงินอิเล็กโทรนิกส์ หรือ E-Wallet โดยผลสำรวจพบว่า ผู้รับสิทธิ์ 43% มีการใช้จ่ายผ่าน E-Wallet เป็นครั้งแรก และไม่คุ้นชินกับการใช้แอปพลิเคชั่น อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีที่ 78% ไม่มีปัญหาระหว่างการชำระเงิน และอีก 57% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความคุ้นเคยในการใช้ E-Wallet อยู่แล้ว

จุดประสงค์ที่สำคัญที่สุดของนโยบาย “ชิมช้อปใช้” คือความคาดหวังว่าประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ โดยสามารถสรุปจากผลสำรวจได้ว่า 56% ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้สึกว่าตนเองมีการใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ในขณะที่ 17% ไม่รู้สึกว่าพวกเขามีการใช้จ่ายที่มากกว่าเดิมส่วน และอีก 18% นั้นไม่แน่ใจว่าตัวเองมีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นหรือไม่

โครงการ “ชิมช้อปใช้” ถือเป็นหนึ่งในโครงการของรัฐบาลที่ถูกวิจารณ์ในหลายด้าน อย่างไรก็ตาม 74% ของประชาชนชาวไทยอยากให้รัฐบาลดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องหลังจบมาตรการแล้ว มีเพียงแค่ 14% และ 12% เท่านั้นที่ไม่แน่ใจ หรือรู้สึกอยากให้รัฐบาลยกเลิกโครงการนี้ไปเลย

นับได้ว่าผลสำรวจนี้เป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานและภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพราะสามารถทำให้เข้าใจความคิด และพฤติกรรมของประชาชนส่วนใหญ่ ทำให้ทุกภาคส่วนสามารถปรับแผนและแนวทางรองรับความต้องการและแนวโน้มได้อย่างถูกทิศทาง

จับกระแสโลกเปลี่ยน ตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา โลกได้เข้าสู่ภาวะ Accelerated Change อิปซอสส์ ได้นำหน้าปูทาง พลิกบทเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม” (Game Changers) แทนการอยู่ล้าหลัง ปล่อยแคมเปญ “บี ชัวร์” (Be Sure) หนุนลูกค้าเป็น “ผู้คุมเกม” พลิกวงการวิจัยพร้อมๆ กัน

จากกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจเรื่อยมาจนถึงปี 2562 โลกได้เข้าสู่ยุค Accelerated Change ซึ่งคือการที่โลก เทคโนโลยี และความต้องการของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อิปซอสส์ เชื่อว่า ทุกคนและทุกธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันกับกระแสโลก อิปซอสส์ จึงได้ปูทางนำหน้าสู่การเป็น “ผู้เปลี่ยนเกม Game Changers) ผ่านแคมเปญ “Be Sure” โดยแคมเปญนี้ต้องการสื่อสารว่า การมีข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง และแม่นยำเท่านั้นที่จะทำให้ธุรกิจให้เดินหน้าอย่างแข็งแกร่ง ตอบรับสโลแกน “YOU ACT BETTER WHEN YOU ARE SURE” ผลลัพธ์คุณจะเหนือกว่า เมื่อเต็มเปี่ยมด้วยพลังของความมั่นใจ

About Ipsos บริษัท อิปซอสส์ เป็นบริษัทระดับโลกด้านการสำรวจและวิจัยตลาดสัญชาติฝรั่งเศส เริ่มก่อตั้งในปี 2518 (1975) นับเป็นการดำเนินงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงและต่อเนื่องมานานถึง 44 ปี ปัจจุบันได้ขยายบริการครอบคลุม 89 ประเทศทั่วโลก โดยมีลูกค้ารายใหญ่กว่า 5,000 ราย ปัจจุบันบริษัทมีพนักงานที่มีความเชี่ยวชาญถึง 18,000 คน และให้บริการในหลากหลายกลุ่มธุรกิจ อาทิเช่น กลุ่มสินค้าประเภทอุปโภค-บริโภค กลุ่มสื่อ กลุ่มการเงิน กลุ่มสินค้าสุขภาพ กลุ่มเทคโนโลยี กลุ่มยานยนต์ กลุ่มท่องเที่ยว กลุ่มสันทนาการ องค์กรภาครัฐ กลุ่มเอ็นจีโอ และสถาบันต่างๆ โดยให้บริการในลักษณะโซลูชั่นครบวงจร ครบเครื่องเรื่องบริการงานวิจัย สำหรับในประเทศไทย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages