ดร. พิมพ์ขวัญ แนะเทคนิคเรียกน้ำนมแม่สำหรับลูกน้อย - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Monday, June 14, 2021

ดร. พิมพ์ขวัญ แนะเทคนิคเรียกน้ำนมแม่สำหรับลูกน้อย

ดร. พิมพ์ขวัญ บุญจิตต์พิมล รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลนวมินทร์ 9 ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ผิวหนังและการชะลอวัย Vital Glow: Skin & Aesthetic ในฐานคุณแม่ด้วยเช่นกัน
เผยว่า ปกติโดยทั่วไปเด็กทารกแรกเกิดจะกินนมวันละ 5 – 8 ครั้ง ครั้งละ 2 – 3 ออนซ์ ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของลูกน้อย ใช้สูตรคำนวนง่ายๆ คือ เอาน้ำหนักของลูกเป็นหน่วย กิโลกรัม คูณด้วย 5 ก็จะได้ปริมาณน้ำนมที่ลูกน้อยต้องการต่อวัน เป็นหน่วย ออนซ์ เช่น ลูกน้อยน้ำหนัก 3 กก. คูณด้วย 5 เท่ากับ 15 ออนซ์ต่อวันค่ะ (สูตรนี้เป็นการประมาณการเท่านั้นนะคะ ลูกน้อยบางคนอาจจะกินมากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล พ่อแม่คอยสังเกตและปรับให้เหมาะกับลูกน้อยกันด้วย

แต่ไม่ว่าจะดูแลตัวเองดียังไง แม่ๆ หลายๆ คนก็ยังประสบกับปัญหาน้ำนมไม่เพียงพอ ซึ่งสาเหตุที่น้ำนมน้อยมาได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การให้ลูกดูดนมผิดวิธี การเว้นช่วงการให้นมลูกนานเกินไป ความเครียดของคุณแม่ หรือการพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ อีกทั้งคุณแม่บางท่านยังกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมน ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้นมแม่ผลิตน้อยและไม่เพียงพอ

เสริมเคล็ดลับเรียกน้ำนมแม่


ให้ลูกดูดกระตุ้นบ่อย ๆ เป็นเวลา หนึ่งในวิธีเพิ่มปริมาณน้ำนมโดยที่ไม่ต้องกินอาหารเสริมใดๆเลยก็คือ การให้ลูกดูดเต้าบ่อย ๆ นั่นเองค่ะ เป้าหมายก็คือเพื่อระบายนมออกจากเต้า เพราะการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะไปกระตุ้นฮอร์โมนให้ผลิตน้ำนมมากขึ้น นั่นหมายความว่า ยิ่งลูกน้อยเข้าเต้าดูดนมมากเท่าไหร่ ปริมาณน้ำนมก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน

บีบน้ำนมออกหรือปั๊มนมออก อีกวิธีที่ที่จะกระตุ้นให้ร่างกายผลิตน้ำนมมากขึ้น คือการบีบน้ำนมออกหรือปั๊มนมออก โดยน้ำนมที่ได้มาก็ยังสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งสำหรับไว้ให้ลูกน้อยกินภายหลังได้ค่ะ โดยระหว่างการบีบน้ำนมออกหรือปั๊มนมออก ก็สามารถนวดเต้านมเพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนมได้อีกด้วยค่ะ

ดื่มน้ำมาก ๆ ควรดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอื่นเยอะๆ ไม่ว่าจะน้ำเปล่า น้ำผลไม้ นม หรือซุป ให้ได้วันละ 3 ลิตร เพื่อช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมและทดแทนน้ำที่สูญเสียไป

อย่าเครียด ความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอส่งผลให้ร่างกายลดการผลิตน้ำนมได้ ดังนั้นจึงควรนอนหลับให้เพียงพอทุกคืน และหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเครียดได้ เหมือนจะเป็นเรื่องง่าย แต่ไม่ง่ายนะคะ เพราะต้องตื่นมาให้นม เปลี่ยนผ้าอ้อม สารพัดกิจกรรม ดังนั้นต้องบริหารเวลาให้ดี และขอความช่วยเหลือหากคุณต้องการ

หลีกเลี่ยงบุหรี่แอลกอฮอล์และคาเฟอีน ซึ่งตัวพิมพ์เองปกติไม่ดูดบุหรี่อยู่ ดังนั้นไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ก็ต้องเลี่ยงแอลกอฮอล์และคาเฟอีนในช่วงที่ให้นมลูก

รับประทานอาหารที่เหมาะสม อย่างแรกที่แม่ๆหลังคลอดนึกถึงอาจเป็นการควบคุมอาหารและลดน้ำหนักโดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ตามการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นสิ่งสำคัญคือคุณแม่ต้องทานอาหารในปริมาณที่เหมาะสม จำพวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุสูง

ทานอาหารเสริมหรือวิตามินเสริม ร่างกายต้องการสารอาหารที่จําเป็นเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ค่ะ ทางหนึ่งที่ช่วยให้แน่ใจว่าได้รับสารอาหารตามที่ร่างกายต้องการก็คือให้ทานวิตามินรวมหรือวิตามินที่ทานขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ควรเข้าโปรแกรมลดน้ำหนักหรือจํากัดอาหารเพราะจะมีผลต่อการผลิตน้ำนมและอาจทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียได้ค่ะ หากคุณแม่กังวลกับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตอนตั้งครรภ์และต้องการกลับไปมีรูปร่างเหมือนก่อน โดยที่เลี้ยงลูกด้วยนมไปด้วย ให้ปรึกษาคุณหมอค่ะ ส่วนของพิมพ์เองนั้น พิมพ์ไม่ได้เข้าคอร์สอะไรนะคะ แต่พิมพ์เน้นกินอาหารที่มีประโยชน์และเมนูที่ช่วยเพิ่มน้ำนม ซึ่งการที่เราให้น้ำนมกับลูก ก็จะช่วยทำให้น้ำหนักของเรากลับเข้าที่ได้ไวขึ้นมากอีกด้วยค่ะ เพิ่มเติมจากการออกกำลังกายเป็นประจำของพิมพ์ ตอนนี้ก็เน้นออกกำลังกายเบาๆ เช่น เดิน ค่ะเมนูที่ช่วยเพิ่มน้ำนมของพิมพ์ ได้แก่ หัวปลี ขิง ใบกะเพรา ฟักทอง บวบ กุยช่าย ซึ่งสามารถเอามาทำได้หลากหลายเมนูอร่อยได้ไม่เบื่อเลยค่ะ

คุณแม่ทุกคนควรเอาใจใส่ ดูแลใส่ใจเรื่องอาหารด้วยนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังคลอด ยิ่งต้องดูแลเป็นพิเศษ อาจจะยังไม่เห็นผลในวันนี้ แต่อาจจะมีผลในระยะยาวค่ะ สำหรับคุณแม่ที่ไม่มีเวลา หรือไม่มีโอกาสได้เตรียมอาหารรับประทานเอง วันนี้พิมพ์มีวิตามินเฉพาะสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ และคุณแม่หลังคลอดบุตรมาแนะนำค่ะ อย่างแรกเลยคือ เราต้องทราบว่าร่างกายเราขาดอะไร และปริมาณในการรับประทานที่เหมาะสมคือเท่าไร

ซึ่งหากคุณไม่ทราบว่าตนเองขาดวิตามินและแร่ธาตุชนิดไหนบ้าง ก็ย่อมเกิดผลไม่ดีตามมานะคะ คุณแม่หลายท่านไปหาซื้อวิตามิน อาหารเสริม มารับประทานเอง แต่การรับประทานวิตามินลักษณะนี้ จะส่งผลให้คุณรับประทานวิตามินน้อยหรือมากกว่าความจำเป็น ยิ่งไปกว่านั้นบางคนรับประทานหลายตัว โดยการรับประทานพร้อมกันเป็นจำนวนมาก ๆ อาจทำให้ตับและไตทำงานหนัก และเกิดวิตามินตีกันได้ ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด ดร. พิมพ์ขวัญปิดท้าย

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages