นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน เปิดเผยว่า การพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุน นับเป็นบทบาทที่สำคัญประการหนึ่งของกรมชลประทานที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความมั่นคงและสร้างเสถียรภาพด้านการใช้น้ำอย่างทั่วถึง เพียงพอ และเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน รวมถึงเพื่อตอบสนองต่อแผนการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 รวมถึงยุทธศาสตร์ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้นโยบายของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมทั้งยังเป็นการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง หรือ climate change ดังนั้นในปัจจุบันงานพัฒนาแหล่งน้ำตามศักยภาพแหล่งน้ำต้นทุน กรมชลประทานจึงเน้นการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางหลักในการขับเคลื่อน ไม่ว่าจะเป็น หนึ่ง ต้นน้ำ ซึ่งต้องจัดเก็บ สอง กลางน้ำ ต้องหน่วงด้วยการวางแผนด้านบริหารจัดการ และ สาม ท้ายน้ำ ให้ไหลลงสู่ทะเล โดยทั้งนี้จะอยู่ภายใต้หลักการสำคัญคือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่
“โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC เป็นอีกหนึ่งโครงการสำคัญที่กรมชลประทานได้เข้าไปดำเนินการพัฒนาในด้านแหล่งน้ำเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้มีการวางแผนการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดภายใต้การก่อสร้างในรูปแบบต่าง ๆ ตามศาสตร์พระราชา เช่น การก่อสร้างและปรับปรุงแหล่งน้ำเดิมในระบบอ่างพ่วงเพื่อผันน้ำมาใช้ในพื้นที่ EEC ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการใกล้แล้วเสร็จในหลายโครงการ เช่น โครงการสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ และในปีงบประมาณ 2564 จะมีการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่เพิ่มขึ้น เช่น ในลุ่มน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ประกอบด้วย อ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว และอ่างเก็บน้ำวังโตนด ทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มมากขึ้นรวม 308.50 ล้าน ลบ.ม. สำหรับใช้ในภาคการเกษตรในลุ่มน้ำวังโตนดอย่างเพียงพอและผันน้ำส่วนเกิน ปีละประมาณ 47 ล้าน ลบ.ม. มาช่วยพื้นที่ EEC รวมไปถึงการสูบผันน้ำจากคลองสะพานไปเก็บไว้ในอ่างเก็บน้ำประแสร์ ซึ่งจะทำให้ได้น้ำใช้การได้อีกปีละประมาณ 80 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่าย เป็นต้น โดยทั้งหมดจะช่วยทำให้มีแหล่งน้ำต้นทุนเพียงพอกับการใช้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้น” รองอธิบดีฝ่ายก่อสร้าง กรมชลประทาน กล่าว
ด้านนายสุริยพล นุชอนงค์ ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 9 ซึ่งรับผิดชอบบริหารจัดการน้ำครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด สระแก้ว กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับโครงการสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลชุมแสง อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง การดำเนินการจนถึงขณะนี้มีความคืบหน้าตามแผนที่กำหนด และจะแล้วเสร็จในปี 2564 ตามแผน ซึ่งจะยังประโยชน์ทำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มในอ่างเก็บน้ำประแสร์ ถึงปีละ 50 ล้านลูกบาศ์กเมตร สามารถจัดสรรทั้งการอุปโภค บริโภค และอุตสาหกรรม อีกทั้งยังบรรเทาความเสียหายเนื่องจากอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดระยอง และสูบผันน้ำส่งกลับเข้าช่วยพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อช่วยลดปัญหาขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง
ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 9 กล่าวต่อไปว่า โครงการสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ ใช้งบประมาณทั้งโครงการ 700,000,000 บาท จากแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารอัดน้ำคลองสะพาน การก่อสร้างสถานีสูบน้ำผักกลับคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ พร้อมเครื่องสูบน้ำชนิดเพลาตั้ง อัตราสูบน้ำ 1.375 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง จำนวน 5 เครื่อง และการก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำพร้อมวางท่อเหล็กเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,800 มิลลิเมตร ความยาว 3.7 กิโลเมตร“
ผู้อำนวยการสำนักชลประทานที่ 9 กล่าวต่อไปว่า โครงการสูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ ใช้งบประมาณทั้งโครงการ 700,000,000 บาท จากแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วยการก่อสร้างอาคารอัดน้ำคลองสะพาน การก่อสร้างสถานีสูบน้ำผักกลับคลองสะพาน-อ่างเก็บน้ำประแสร์ พร้อมเครื่องสูบน้ำชนิดเพลาตั้ง อัตราสูบน้ำ 1.375 ลบ.ม./วินาที/เครื่อง จำนวน 5 เครื่อง และการก่อสร้างแนวท่อส่งน้ำพร้อมวางท่อเหล็กเหนียว ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1,800 มิลลิเมตร ความยาว 3.7 กิโลเมตร“
นอกจากนี้ในปี 2564 สำนักชลประทานที่ 9 จะเริ่มก่อสร้างโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่าย เนื่องจากการเติบโตทั้งของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม และชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยอง ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำมีปริมาณมากขึ้น โดยบริเวณฝายน้ำล้นบ้านค่ายเป็นจุดที่ใช้น้ำในการผลิตน้ำประปา แต่ปรากฏว่าตามแนวแม่น้ำระยอง มีโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งตั้งอยู่ ประชาชนมีความกังวลว่าจะมีการลักลอบปล่อยน้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัดอย่างถูกต้องลงลำน้ำ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาและคุณภาพชีวิตของประชาชน”
สำหรับโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่าย ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 -2566 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 800,000,000 บาท โดยเป็นระบบท่อส่งน้ำเหล็กเหนียวจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ไปยังด้านหน้าฝายบ้านคาย ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ความยาวประมาณ 18.6 กิโลเมตร
“โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่ายที่สำนักชลประทานที่ 9 จะดำเนินการจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำทั้งด้านอุปโภค-บริโภค ประชาชนได้รับน้ำที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่ไม่มีสารเจือปน รวมถึงมีน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการแย่งน้ำกับเกษตรกรในแม่น้ำระยอง”นายสุริยพล กล่าวในที่สุด
สำหรับโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่าย ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2564 -2566 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 800,000,000 บาท โดยเป็นระบบท่อส่งน้ำเหล็กเหนียวจากสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ ตำบลละหาร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง ไปยังด้านหน้าฝายบ้านคาย ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง ความยาวประมาณ 18.6 กิโลเมตร
“โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบส่งน้ำอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่-ฝายบ้านค่ายที่สำนักชลประทานที่ 9 จะดำเนินการจึงจะเป็นการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำทั้งด้านอุปโภค-บริโภค ประชาชนได้รับน้ำที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่ไม่มีสารเจือปน รวมถึงมีน้ำช่วยเหลือพื้นที่เกษตร ลดผลกระทบปัญหาภัยแล้ง และการแย่งน้ำกับเกษตรกรในแม่น้ำระยอง”นายสุริยพล กล่าวในที่สุด
No comments:
Post a Comment