พิมล ถอดรหัสเจ็ตสกีโลก สร้างกีฬา IP สำคัญ ใช้ทรัพย์สินทางปัญญานำ พากีฬาไทยทันกระแสโลก มองกีฬาอาชีพโอกาสเปิด - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Wednesday, November 20, 2024

พิมล ถอดรหัสเจ็ตสกีโลก สร้างกีฬา IP สำคัญ ใช้ทรัพย์สินทางปัญญานำ พากีฬาไทยทันกระแสโลก มองกีฬาอาชีพโอกาสเปิด


พิมล ถอดรหัสเจ็ตสกีโลก สร้างกีฬา IP สำคัญ
ใช้ทรัพย์สินทางปัญญานำ พากีฬาไทยทันกระแสโลก
มองกีฬาอาชีพโอกาสเปิด

ทัวร์นาเม้นท์กีฬาเจ็ตสกีโลก WGP#1 สัญชาติไทย 100% กำลังสร้างกระแสความสำเร็จ เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างชัดเจนในหลายด้าน ล่าสุด พิมล ศรีวิกรม์ ร่วมกับ “บิ๊กเปี๊ยก” พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา นายกสมาคมกีฬาเจ็ตสกีฯ เจาะวิเคราะห์ มองเรื่อง IP กีฬา เป็นเรื่องสำคัญของประเทศที่จะนำกีฬาไทยแข่งขัน ทันกระแสโลก สร้างความยั่งยืนในอนาคตชี้ 4 กุญแจสำคัญของความสำเร็จ ได้แก่ “เข้าใจการสร้างแบรนด์-สร้างที่ทัวร์นาเม้นท์-มีเป้าหมายชัดเจน-รัฐต้องสนับสนุน” โดยทัวร์นาเม้นท์ WGP#1 เจ็ตสกีเวิลด์คัพ 11-15ธันวาคมนี้ จัดที่เมืองพัทยา


จากการแถลงข่าวร่วมกันของ นายพิมล ศรีวิกรม์ กรรมการยุทธศาสตร์ซอร์ฟพาวเวอร์แห่งชาติ พล.ต.อ.เดชณรงค์ สุทธิชาญบัญชา นายกสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทยฯ และนายปริเขต สืบสหการ ผู้อำนวยการทัวร์นาเม้นท์กีฬาเจ็ตสกีโลก WGP#1 ในหัวข้อ “เจาะลึกความสำเร็จกีฬา IP” ณ ห้องแถลงข่าวชั้น 25 การกีฬาแห่งประเทศไทย


โดยนายพิมล เปิดเผยว่า “WGP#1 เจ็ตสกีโมเดล เป็นตัวอย่างความสำเร็จของงานกีฬาที่ใช้การพัฒนาเติบโต ด้านทรัพย์สินทางปัญญา IP (Intellectual Property) อย่างน่าสนใจ หากไม่นับมวยไทย ที่มีต้นกำเนิดในประเทศไทยแล้ว กีฬานี้เป็นกีฬาชนิดแรกของกีฬาที่กำเนิดต่างประเทศ และคนไทยพัฒนาจากศูนย์จนเป็นผู้นำกีฬานี้ของโลก เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เวิลด์ซีรี่ส์ ทำให้มองเห็นโอกาสสำคัญ ที่กีฬาไทยจะแข่งขัน ทันต่อกระแสโลกและตลาดโลกอนาคต


เมื่อถอดรหัสจากเจ็ตสกี WGP#1 โมเดล มีกุญแจความสำเร็จที่สำคัญ 4 ข้อ คือ 1.“การเข้าใจการสร้างแบรนด์” เรื่องนี้ยังมีคนไทยเข้าใจผิดกันมาก คิดว่าการทำแบรนด์ต้องสื่อกับสิ่งที่ทำ แต่ข้อกำหนดทรัพย์สินทางปัญญานานาชาติในปัจจุบัน ห้ามสื่อด้านที่ทำเลย เช่น แบรนด์โทรศัพท์มือถือ คือ แอปเปิ้ล เป็นต้นซึ่งแค่ข้อแรกก็กลัดกระดุมผิดเม็ดแล้ว

ข้อ 2 ต่อมา “สร้างที่ทัวร์นาเม้นท์” บางท่านคิดว่า ต้องไปล้มองค์กรโลก (International Federation) ที่ถูกนั้น ต้องสร้างทัวร์นาเม้นท์ให้ดังและประสบความสำเร็จ ส่วนกีฬาอาชีพจะมีช่องทางเติบโตมากกว่า ตัวอย่างเช่น โมโตจีพี องค์กรดูแลกติกาคือ FIM เจ้าของทัวร์นาเม้นท์ คือ บริษัท ดอร์น่าสปอร์ตข้อที่ 3 คือ “การมีเป้าหมายชัดเจน” ต้องแยกว่า จะสร้างทัวร์นาเม้นท์หรือนักกีฬา เช่น เจ็ตสกี WGP#1 สร้างความยุติธรรม เท่าเทียมกันของนักกีฬาทุกชาติ เพื่อเป็นทัวร์นาเม้นท์โลก


ส่วนนักกีฬาไทยชนะหรือไม่เป็นหน้าที่ของสมาคมกีฬาเจ็ตสกีแห่งประเทศไทย และข้อ 4 “รัฐต้องสนับสนุน” เพราะกลุ่มตลาดผู้สนับสนุนกีฬาในประเทศไทยยังเล็ก เมื่อเติบโตได้ เจ็ตสกีWGP#1 สามารถนำเข้าและสร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจชาติกว่า 450 ล้านบาท เฉพาะทัวร์นาเม้นท์เดียว และยังเติบโตต่อได้มาก”


ด้าน “บิ๊กเปี๊ยก” พล.ต.อ.เดชณรงค์ เปิดเผยว่า “สมาคมกีฬาเจ็ตสกีฯ แยกบทบาทการบริหารงานอย่างชัดเจน เกี่ยว กับภารกิจการสร้างผลงานของนักกีฬาทีมชาติไทย โครงการเพื่อสังคม นโยบายการสร้างการเติบโตด้านกีฬาต่างๆ ไม่ใช่บทบาทของสมาคมแห่งประเทศไทย ที่จะไปจัดทัวร์นาเม้นท์โลก ซึ่งย้อนแย้งกับระบบสมาคมกีฬานานาชาติ


แต่ถ้าเป็นทัวร์นาเม้นท์กีฬาอาชีพ รูปแบบที่ต่างประเทศทำ แน่นอนสมาคมก็อยากเห็นทัวร์นาเม้นท์กีฬาไทยเติบโตบนจุดสูงสุดของระบบนิเวศน์กีฬา เป็นความแข็งแกร่งเชิงโครงสร้างกีฬา และเป็นแนวคิดใหม่ที่จะสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยร่วมกันในหลักการ “กีฬาอาชีพ ติดธงชาติไทย” คือ นักกีฬาไทยเก่ง มีสนามดีๆให้ฝึกฝน สร้างอาชีพ สร้างอุตสหกรรมกีฬาส่งออก การยกระดับเกียติภูมิและชื่อเสียงของวงการกีฬาไทยเป็นผู้นำโลก สร้างเงินหมุนเวียนทางเศรษฐกิจให้ชาติการประชาสัมพันธ์คอนเท้นท์ประเทศไทยผ่านสื่อนานาชาติทั้งหมดคือบทสรุปความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นในทัวร์นาเม้นท์WGP#1 เจ็ตสกีเวิลด์คัพ 2024 ไทยแลนด์กรังด์ปรีซ์, 11-15 ธันวาคมนี้ ณ เมืองพัทยา”


#เจ็ตสกีWGP

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages