เทศกาลชมสวน 2565 ภายใต้แนวคิด “แอ่วสุขใจ..ไอ มิส ยู” 1 พฤศจิกายน 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ - Siam Outlook

Breaking

Home Top Ad

Post Top Ad

Sunday, December 18, 2022

เทศกาลชมสวน 2565 ภายใต้แนวคิด “แอ่วสุขใจ..ไอ มิส ยู” 1 พฤศจิกายน 2565 - 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่



ตระการตาไม้ดอกเมืองหนาว สัมผัสวัฒนธรรมเมืองเหนือ มอบความสุข สนุก ปลอดภัย ชวนกลับมาเที่ยวให้หายคิดถึงในเทศกาลชมสวน 2565 “แอ่วสุขใจ..ไอ มิส ยู”


เทศกาลชมสวน (Flora Festival) นับเป็นเทศกาลยิ่งใหญ่ประจำปีที่นักท่องเที่ยวต่างให้การรอคอยที่จะได้ชื่นชมความงามของไม้ดอกเมืองหนาวนานาพรรณ สำหรับเทศกาลชมสวนปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “แอ่วสุขใจ..ไอ มิส ยู” ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 – 28 กุมภาพันธ์ 2566 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จ.เชียงใหม่ เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบ “Next Normal” หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย โดยมุ่งเน้นให้นักท่องเที่ยวมีความสุขจากใช้เวลาร่วมกันกับครอบครัว หรือคนรัก และได้รับคุณภาพของการให้บริการที่มีมาตรฐาน เป็นเจ้าบ้านที่ดี มีความสะอาดและปลอดภัย มอบประสบการณ์และสร้างความสุขทั้งองค์ความรู้ด้านโครงการตามแนวพระราชดำริ โครงการหลวง และการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน ความหลากหลายทางชีวภาพ ศิลปะและวัฒนธรรม อีกทั้ง ยังได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งอุทยานหลวงราชพฤกษ์กำลังมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ในปี พ.ศ.2570

ภายในงานนักท่องเที่ยวจะได้ชมความสวยงามของไม้ดอกเมืองหนาวนานาพรรณนับล้านดอกที่จะบรรจงจัดแสดงบนพื้นที่กว่า 470 ไร่ พร้อมใจกันเบ่งบานงดงามเต็มสวน ซึ่งมีหลักคิดในการจัดสวนโดยใช้ความงามของธรรมชาติ ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและวิถีชีวิตเป็นหลักคิดในการออกแบบและตกแต่งภูมิทัศน์ ใช้วัสดุธรรมชาติในการจัดสวน เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงประโยชน์ของธรรมชาติให้นักท่องเที่ยวได้ชื่นชมและประทับใจตลอดการจัดงาน และจุดไฮไลท์ในงานที่ไม่ควรพลาด ได้แก่

1. จุดจัดแสดงไม้ดอกเมืองหนาวนานาพรรณจากบนพื้นที่สูง นักท่องเที่ยวจะได้ชมความสวยงามของไม้ดอกเมืองหนาวหลากสีสัน และยังได้รู้จัก และเรียนรู้ประเภท ประโยชน์ของพรรณไม้แต่ละชนิด อีกทั้งยังสามารถนำไปต่อยอดในการนำไปปลูกที่บ้าน สามารถลดค่าใช้จ่าย ลดปุ๋ย ลดน้ำ ลดขยะได้ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมมุมถ่ายรูปเก๋ๆ ให้ได้เก็บภาพประทับใจ ณ สวนลานต้อนรับและสวนอังกฤษ

2. จุดจัดแสดงดอกกุหลาบ เอาใจคนรักดอกกุหลาบซึ่งเราได้มีส่วนจัดแสดงดอกกุหลาบเยอะมาก มีหลากหลายสายพันธุ์ทำให้เบ่งบานในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน สามารถชมความสวยงามได้หลายฤดูกาล เพราะแต่ละจุดจะออกดอกบานสะพรั่งสลับหมุนเวียนให้นักท่องเที่ยวได้ชมกันตลอดทั้งปี ไม่ว่าจะเป็น โดมกุหลาบ โซนร้านกาแฟ สวนฤดูฝน สวนประเทศโมร็อคโก สวนข้างโรงแรมราชพฤกษ์เพลซ และแปลงรวบรวมสายพันธุ์กุหลาบ มีมากกว่า 200 สายพันธุ์

3. จุดจัดแสดงกล้วยไม้ ที่ไม่ว่าจะมองมุมไหนก็สวยและสดชื่นไปหมด มีทั้ง กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส แวนด้า ม็อคคาร่า แอสโคเซ็นด้า ฯลฯ พร้อมมุมถ่ายภาพ ตกแต่งด้วยวัสดุจากธรรมชาติ ณ เรือนกล้วยไม้

4. ทุ่งดอกไม้ จัดแสดงจำนวน 3 จุดใหญ่ๆ ได้แก่

เดือน พฤศจิกายน 2565 สัมผัสดอกบิโกเนีย ณ สวนประเทศเนเธอร์แลนด์

เดือน ธันวาคม 2565 สัมผัสดอกเจอราเนียม ณ สวนอังกฤษ , ดอกซัลเวียแดง ณ สวนพรมปุปผา

เดือน มกราคม 2565 สัมผัสดอกซัลเวียแดง ณ สวนพรมบุปผา

เดือนกุมภาพันธ์ 2565 สัมผัสคอสมอสสีชมพู ณ สวนสวัสดี

5. จุดจัดแสดงสวนแบบ Recycle พร้อมมุมถ่ายรูป โดยนำวัสดุที่ใช้ไม่แล้วภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ นำกลับมาใช้ใหม่ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุดเพื่อช่วยลดขยะและรักษาสิ่งแวดล้อมช่วยลดสภาวะโลกร้อน ณ ลานส้มสุก

พบกับนิทรรศการและกิจกรรมสำคัญในงาน

เดือน พ.ย.65 – 28 ก.พ. 66 นิทรรศการ ธ สถิตในดวงใจไทยตราบนิจนิรันดร์/ บัวบาทยาตรา / ธ คือปราชญ์แห่งแผ่นดิน / นิทรรศการโครงการหลวงและการพัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน

เดือน ธ.ค. 65-ก.พ. 66 นิทรรศการ How to save our planet : ณ อาคารนิทรรศการ ธ คือปราชญ์แห่งแผ่นดิน (เรียนรู้กิจกรรมในชีวิตในประจำวันที่ช่วยลดขยะ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก)

เดือน ม.ค. 65 - ก.พ. 66 นิทรรศการไม้ฟอกอากาศ : ณ เรือนร่มไม้ ชมพรรณไม้และดอกไม้หลากชนิด ที่เป็นไม้ฟอกอากาศและที่เป็นประโยชน์ พร้อมมุมถ่ายภาพสวยๆ

กิจกรรม/ งานสำคัญ

เดือน พ.ย. 65- 28 ก.พ. 66 ได้แก่

- กิจกรรมประกวดถ่ายภาพ (Photo Contest) : ถ่ายรูปจุดที่ชอบในสวน โพสต์ลง Facebook ของตัวเองและบอกความประทับใจ พร้อมติด Hashtag ลุ้นรับรางวัล

- กิจกรรมเดินสวนกับคนสวน (Walking Tour) : รู้ลึก รู้จริง รู้ก่อนใคร กับกิจกรรม “เดินสวนกับคนสวน” Walking Tour กิจกรรมที่พาทุกท่านมาชมสวน กับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านพรรณไม้ เรียนรู้เกี่ยวกับพรรณไม้ ตั้งแต่วิธีเพาะพันธุ์ วิธีการดูแล ไปจนถึงสาธิตวิธีการปลูก พร้อมเรียนรู้แหล่งศิลปะวัฒนธรรมท้องถิ่น เพิ่มพูนความรู้ด้านการเกษตรทฤษฎีใหม่ เผยแพร่องค์ความรู้ และสัมผัสธรรมชาติอันร่มรื่นกับเส้นทางการเรียนรู้ภายในอุทยานหลวงราชพฤกษ์

- กิจกรรมเรียนรู้ค่ายสิ่งแวดล้อม: สำหรับเด็กและเยาวชน นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป ค่ายสำรวจธรรมชาติ *ทุกวันเสาร์สัปดาห์ที่ 4 ของเดือน*

- กิจกรรมหา RC พรรณไม้ ตลาดนัดชาวดอย : ช้อป ผัก ผลไม้ ผลผลิตปลอดภัยจากเกษตรกรบนพื้นที่สูง ทุกวันเสาร์-อาทิตย์

- กิจกรรม DIY: ณ ลานส้มสุก กระเป๋าผ้าแต้มลายด้วยวัสดุจากธรรมชาติ และทำยาดมสมุนไพรเขย่า *ทุกวันเสาร์-อาทิตย์-วันหยุดนักขัตฤกษ์*

- ซุ้มคนเมือง: ณ ลานส้มสุก ซุ้มอาหารพื้นเมือง ใช้ภาชนะใส่อาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมนั่งชิลกับบรรยากาศแบบล้านนา

วันที่ 1-31 ธ.ค.65 ในช่วงเวลา 16.50 – 17.20 น. ชมพระอาทิตย์ฉายแสงลอดผ่านประตูด้านข้างหอคำหลวงที่เป็นสถาปัตยกรรมล้านนาอันทรงคุณค่า
ซึ่งถือว่าเป็นความมหัศจรรย์ของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งจะเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี และปีนี้สามารถชมได้ในช่วงเวลาประมาณ 16.50 – 17.15 น. ของทุกวัน โดยพระอาทิตย์จะค่อยๆ เคลื่อนลงมาที่ตรงประตูของหอคำหลวงพร้อมสาดแสงเป็นลำแสงผ่านช่องประตูทั้ง 2 บานอย่างสวยงาม

วันที่ 23 ธ.ค. 65 – 2 ม.ค.66 ช่วงเวลา 18.00 – 20.00 น. กิจกรรม Night Light 2022 : เปิดให้เข้าชมสวนยามค่ำคืน ตระการตากับการย้อมแสง สี หอคำหลวง สนุกกับกิจกรรม แชะ & แชร์ แสง สี หอคำหลวง

วันที่ 14 ม.ค. 66 กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ : ส่งเสริมการเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน

วันที่ 11-14 ก.พ. 66 กิจกรรมวันวาเลนไทน์ : สัมผัสบรรยากาศแห่งรัก / ช้อปกล้าพันธุ์กุหลาบ / สดชื่นกับเครื่องดื่มจาก HRDI Café/ Workshop สำหรับทุกครอบครัว

ค่าเข้าชมเทศกาลชมสวน 2565 ** นั่งรถโดยสารชมสวนฟรี!! **

คนไทย ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 70 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 150 บาท

ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ข้าราชการ นักเรียนและนักศึกษา แสดงบัตร 70 บาท

ผู้พิการ พระภิกษุ และเด็กความสูงไม่เกิน 100 ซม. เข้าชมฟรี

บัตรรายปี : บัตรสมาชิกชมสวนรายปีแบบบุคคล ราคาขาย 899 บาท/ปี

บัตรสมาชิกชมสวนรายปีแบบกลุ่ม (3 คน) ราคาขาย 2,000 บาท/ปี

สอบถามเพิ่มเติมที่ 053-114110 ถึง 2

No comments:

Post a Comment

Post Bottom Ad

Pages